หมวดหมู่
การพัฒนาโซ่อุปทานสำหรับ SMEs ผ่านวิธีคิดแบบ SCOR Model
มงคล พัชรดำรงกุล ที่ปรึกษาโครงการสร้างความร่วมมือและการเชื่อมโยงกลุ่มอุตสาหกรรม SMEs E-Mail :naitakeab@gmail.com, http://naitakeab.blogspot.com ด้วย SMEs ไทย คือ เครื่องจักรและฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า SMEs จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ ปรับตัว เพื่อให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้สภาพทางการแข่งขัน และความต้องการของลูกค้าที่มีความผันแปรตลอดเวลา ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีเครื่องมือในการดำเนินงานด้านต่างๆ ของโลกได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ยุค Digital อย่างเต็มรูปแบบ หลาย SMEs ไทยเริ่มซึมซับถึงความจำเป็นที่ต้องบริหาร และควบคุมกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันตลอดโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain ทั้งผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต และลูกค้า โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการสร้างประสิทธิภาพและความสมดุลร่วมกัน (Optimization) ตลอดโซ่อุปทาน ภาพที่ 1 ขั้นตอนการจัดการโซ่อุปทานตามแบบ SCOR Model ตัวแบบสำคัญที่ใช้ในการพัฒนาการจัดการโซ่อุปทานที่สากลนิยมนำมาประยุกต์ใช้ และ SMEs ไทยจำเป็นต้องเรียนรู้ก็คือ SCOR Model ซึ่งให้ความสำคัญกับกระบวนสร้างความเป็นเลิศอย่างเป็นระบบทั้ง 6 กระบวนหลักภายในโซ่อุปทาน คือ Plan Source Make Deliver Return และ Enable โดยมีเป้าหมายให้เกิดประสิทธิผล 5 ด้าน คือ Reliability, Responsiveness, Agility, Cost และ Asset Management Efficiency ดังภาพที่ 2 ภาพที่ 2 เป้าหมาย 5 ด้าน กระบวนการ 6 อย่าง ในการจัดการโซ่อุปทาน ส่วนแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการจัดการโซ่อุปทานอย่างไรให้เหมาะสมและสอดคล้องกับ SMEs นั้น ภายใต้โครงการ “สร้างความร่วมมือและการเชื่อมโยงกลุ่มอุตสาหกรรม SMEs” โดยการสนับสนุนงบประมาณจากกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้กำหนดกรอบแนวคิดและวิธีการโดยใช้วิธีคิดตามแบบ SCOR Model มาเป็นแนวทางไว้ดังภาพที่ 2 โดยสามารถแบ่งขั้นตอนออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ คือ การวิเคราะห์และจัดทำกลยุทธ์คือ การดำเนินการวิเคราะห์และกำหนดว่ากลยุทธ์ใดสำคัญ โดยจะพิจารณาจากเป้าหมาย 5 ด้านหลัก โดยกลยุทธ์ 3 ด้านแรกมุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อลูกค้า คือ Reliability, Responsiveness และ Agility ส่วนกลยุทธ์ที่ 4 และ 5 เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นด้านประสิทธิภาพการดำเนินการขององค์กร การคัดเลือกผลิตภัณฑ์และศึกษาทำความเข้าใจโครงสร้างโซ่อุปทานคือ การศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อเชื่อมโยงให้เห็นถึงกระบวนการ ผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับโซ่อุปทานของสินค้า ที่ได้รับการคัดเลือกมาพัฒนาโซ่อุปทาน โดยจะมีกิจกรรมสำคัญๆ 4 อย่างคือ 1) การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ 2) การจัดทำโครงสร้าง Chain 3) การจัดทำแผนภาพทางภูมิศาสตร์4) การจัดทำรูปแบบความเชื่อมโยงของแต่ละกระบวนการภายใต้ผลิตภัณฑ์ที่ได้คัดเสือก การวิเคราะห์และประเมินผลกระบวนการ/ขั้นตอนการทำงานคือ การประยุกต์แนวคิดตัวแบบ SCOR ผ่านกลไกการบริหารจัดการ 4P (Performance Process Practice People) โดยการวิเคราะห์ประสิทธิผลจะนำเป้าหมาย 5 ด้าน (Reliability, Responsiveness, Agility, Cost และ Asset Management Efficiency) และกระบวนการ 6 อย่าง (Plan Source Make Deliver Return และ Enable) มาทำการวิเคราะห์ปัญหาและโอกาสพัฒนาปรับปรุงภายใต้โซ่อุปทานของ Product นั้นๆ การดำเนินการพัฒนาปรับปรุงคือ การนำประเด็นการพัฒนาปรับปรุงที่ได้วิเคราะห์ มากำหนดมาตรการ โดยใช้หลักการปฏิบัติ (Practice) มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร (People) เพื่อให้มีศักยภาพในการใช้หลักปฏิบัติ และพัฒนาวิธีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรูปแบบของการปรับปรุงสามารถดำเนินการได้ 4 ลักษณะ คือ การปรับปรุงเฉพาะตัวองค์กร (Company) การปรับปรุงร่วมกันกับผู้ส่งมอบ (Supplier) การปรับปรุงร่วมกันกับลูกค้า (Customer) การปรับปรุงร่วมกันกันทั้งโซ่อุปทาน (Supply Chain) สรุปได้ว่า การพัฒนาโซ่อุปทานสำหรับ SMEs โดยใช้ SCOR Model จะเป็นการสร้างและพัฒนาเครือข่ายในระบบโซ่อุปทานให้เป็นไปอย่างยั่งยืน
31 พ.ค. 2562
ความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศใน Supply Chain ต่อทางรอดทางธุรกิจ
นางสาวนันท์ บุญยฉัตร วิศวกรโลหการชำนาญการ กองโลจิสติกส์ จากสถานการณ์การระบาดของมัลแวร์คอมพิวเตอร์เรียกค่าไถ่ Wanna Cry ตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2560 โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ดังกล่าวจะไม่สามารถเปิดใช้งานข้อมูลใดๆได้เลย เว้นแต่ยอมจ่ายเงินสกุลดิจิทัลเสมือนจริง “บิตคอยน์” (Bit coin) เพื่อให้ได้รับรหัสมาปลดล็อก จนปั่นป่วนไปทั่วโลก ทำให้ประเทศไทยตื่นตัว ทั้งหน่วยราชการและเอกชน เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางด้านไอที โดยเฉพาะปัจจุบันที่อุตสาหกรรมไทยมุ่งเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร จึงทำให้ผู้ประกอบการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินการทางธุรกิจเพื่อเชื่อมโยง กระบวนการผลิต และการทำธุรกรรมต่างๆ ใน Supply Chain มากขึ้น เช่น การใช้ระบบ ERP ในกระบวนการทำงานขององค์กร และการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบอิเล็คทรอนิกส์ เป็นต้น ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยคุกคามทางด้าน IT ซึ่งเครื่องมือหนึ่งในการลดความเสี่ยง คือ การนำระบบการจัดการมาตรฐาน ISO 22301 และมาตรฐาน ISO 27001 มาประยุกต์ใช้ในองค์กร มาตรฐาน ISO 22301 (มาตรฐานการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ) เป็นมาตรฐานสากลที่ให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยคุกคามต่างๆ ที่มีต่อธุรกิจ โดยองค์กรจะมีการวิเคราะห์และการจัดการความเสี่ยงขององค์กรอย่างเป็นระบบ และมีการจัดทำแผนฉุกเฉินทางธุรกิจกรณีที่เกิดภัยคุกคาม หรือแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan : BCP) ซึ่ง BCP คือ ขั้นตอนการดำเนินการที่จะให้กิจการสามารถให้บริการหรือผลิต และส่งสินค้าให้ลูกค้าได้แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่เกิดภัยคุมคามที่ไม่สามารถคาดหมายได้ก่อนล่วงหน้าหรือไม่เคยเกิดขึ้นกับกิจการมาก่อน เช่น ภัยธรรมชาติ (เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ) การโจมตีของผู้ก่อนการร้าย หรือเกิดการแพร่กระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ส่วนมาตรฐาน ISO 27001 (มาตรฐานระบบการจัดการความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ) เป็นมาตรฐานที่สำคัญที่ช่วยให้องค์กรมีความสามารถในการบริหารจัดการสารสนเทศขององค์กรให้มีความมั่นคงปลอดภัยอย่างเป็นระบบ พร้อมในการใช้งาน โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการบริหารความเสี่ยงทาง IT และมีการจัดทำแผนการกอบกู้ระบบ (Disaster Recovery Plan : DRP) เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามต่างๆ ซึ่งแผน DRP เป็นขั้นตอนการดำเนินการในการกู้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในกรณีที่ระบบล่ม (System Down) ที่มาจากภัยคุมคาม โดยในรายละเอียดของแผนจะกล่าวถึงแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response Procedure) กระบวนการสำรองข้อมูล (Extended Backup Operation) และการกู้คืนอุปกรณ์ที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ (Restoring Computing Facilities) จะเห็นได้ว่าแผน DRP เป็นส่วนหนึ่งของแผน BCP โดยแผน DRP จะเน้นด้าน IT เป็นหลัก ในขณะที่แผนBCP จะกล่าวถึงภาพรวมการดำเนินงานขององค์กรทั้งหมดจากความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันนี้องค์กรจึงควรจัดทำแผน BCP และ DRP ร่วมกันเสมอเพราะเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อธุรกิจในปัจจุบันเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในยุคดิจิตอล ถ้าเกิดการหยุดชะงักก็จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการต่างๆ และส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักของธุรกิจได้ ซึ่งการจัดทำแผนอาจแตกต่างกันในแต่ละประเภทและขนาดของกิจการ แต่ในบางธุรกิจระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนสำคัญในการนำข้อมูลในฐานข้อมูลกลับมาทำการเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดการใช้งานในธุรกิจได้ ดังนั้น ต้องเน้นการประสานและเชื่อมโยงกันของแผน BCP กับแผน DRP เพื่อกอบกู้ระบบงานหลักของธุรกิจให้กลับมาอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานตามปกติ ตัวอย่างกลยุทธ์ในการจัดทำแผน DRP คือ การจัดเตรียม DR-Site หรือ Disaster Recovery Site เป็น แนวทางในการกู้คืนระบบที่มีความสำคัญ ซึ่งเกิดจากภัยพิบัติต่างๆ อันเป็นเหตุให้ระบบ Data Center หลักหยุดให้บริการ จึงจำเป็นต้องใช้ Site สำรองในการทำงานแทนโดยมีทางเลือกในการดำเนินการสำหรับ DR-Site ดังนี้ Hot Sites คือ การสร้างระบบสำรองที่เหมือนกับระบบหลัก โดยจะพร้อมทำงานแทนระบบหลักได้ทันที Warm Sites คือ คล้ายกับ Hot site แต่มีการใช้งานเพียงบางแอปพลิเคชั่นเท่านั้น หรือเป็นระบบสำรองที่สามารถทำงานได้เมื่อมีการอัพเดทข้อมูลที่ได้จากการทำสำรองข้อมูล Cold Sites คือ พื้นที่สำรองที่มีเพียงบริการพื้นฐานที่พร้อมใช้งานสำหรับการดำเนินการ โดยมีทรัพยากรที่จำกัด ดังนั้น เมื่อองค์กรได้เลือกกลยุทธ์แล้ว ก็มากำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอนการดำเนินการตามกลยุทธ์ที่ได้เลือกเพื่อรองรับภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นต่อไป
31 พ.ค. 2562
กองโลจิสติกส์ ขอเชิญผู้สนใจเข้าอบรมหลักสูตร Smart Transportation for SMEs ระหว่างวันที่ 20-21 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรมอิสติน มักกะสัน
กองโลจิสติกส์ ขอเชิญผู้สนใจเข้าอบรมหลักสูตร Smart Transportation for SMEs ระหว่างวันที่ 20-21 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรมอิสติน มักกะสัน คลิกเพื่อลงทะเบียนสมัครออนไลน์ คลิกเพื่อดาวน์โหลดกำหนดการ
28 พ.ค. 2562
ขอเชิญอบรมเชิงปฏิบัติการ Strategic change management for logistic innovation
ขอเชิญอบรมเชิงปฏิบัติการ Strategic change management for logistic innovationระหว่างวันที่ 9-10 กรกฎาคม 2562 เวลา 8.00 - 16.00 น. ณ โรงแรมอิสติน มักกะสัน กรุงเทพฯ +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ วิทยากร >>> ดร. ธัชชพันธ์ ศิริเวช และ ดร. บุญเชิด บุตรอินทร์ ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ&ldquo;การเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมโลจิสติกส์ยุคดิจิตอลและการประยุกต์ใช้นวัตกรรมโลจิสติกส์&rdquo;โดย : ดร.ธัชชพัน์ ศิริเวช ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนงานด้านโลจิสติกส์ &ldquo;การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศโลจิสติกส์ และการพัฒนาเชื่อโยงเครือข่ายนวัตกรรมโลจิสติกส์&rdquo;โดย : ดร.บุญเชิด บุตรอินทร์ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนงานด้านโลจิสติกส์ มัดจำเข้าอบรม 1000 บาท คืนเงินในวันสุดท้ายของการอบรมเมื่อเข้าอบรมครบตามหลักสูตร ลงทะเบียน >> คลิ๊กกก <
07 พ.ค. 2562
ขอเชิญเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “เทคโนโลยี IoT เพื่อยกระดับ SMEs ไปสู่โลจิสติกส์4.0”
ขอเชิญเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ &ldquo;เทคโนโลยี IoT เพื่อยกระดับ SMEs ไปสู่โลจิสติกส์ 4.0&rdquo; ระหว่างวันที่ 26-28 มิถุนายน 2562 เวลา 09.00 &ndash; 16.30 น. ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ หัวข้ออบรมเชิงปฏิบัติการวันพุธที่ 26 มิถุนายน 2562 - ระบบบาร์โค๊ต (Barcode) และอาร์เอฟไอดี (RFID) สำหรับเทคโนโลยี IoT; Internet of Thing โดย คุณมงคล ยศสุนทร- ไอโอทีแพลตฟอร์ม (IoT Platform) สำหรับเทคโนโลยี IoT โดย คุณสมบูรณ์ มาตรคำจันทร์- เทคโนโลยีระบบการติดตาม (Technology Tracking) โดย คุณกำพล โชคสุนทรสุทธิ์ วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน 2562- กรณีศึกษา : การบริหารจัดการในภาคอุตสาหกรรม และโรงพยาบาล โดย คุณนริศชา ต่อสุทธิ์กนก- การบริหารจัดการในอุตสาหกรรมโดยใช้ Industrial Internet of Things (IIoT) โดย คุณวิฑูร เวชสิทธิ์- การประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการในคลังสินค้า (Warehouse) โดย คุณธนาพล โชคสุนทสุทธิ์ วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2562- ศึกษาดูงาน บริษัท เดลต้า อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)- ศึกษาดูงานโรงพยาบาลสมุทรปราการ หมายเหตุ : อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม มัดจำเข้าอบรม 1000 บาท คืนเงินในวันสุดท้ายของการอบรมเมื่อเข้าอบรมครบตามหลักสูตร ลงทะเบียน >> คลิ๊ก <<
07 พ.ค. 2562
30 เมษายน 2562 กองโลจิสติกส์​ ร่วมกับ​ บริษัท​ TTLA จำกัด​ จัดฝึกอบรมแนะนำกลไกการเชื่อมโยงข้อมูลการจัดการโลจิสติกส์และมาตรฐานกระบวนการขนส่งทางถนนอย่างมีประสิทธิภาพ แก่ สถานประกอบการ นำร่อง 30 ราย
30 เมษายน 2562 กองโลจิสติกส์ ร่วมกับ บริษัท TTLA จำกัด จัดฝึกอบรมแนะนำกลไกการเชื่อมโยงข้อมูลการจัดการโลจิสติกส์และมาตรฐานกระบวนการขนส่งทางถนนอย่างมีประสิทธิภาพ แก่ สถานประกอบการ นำร่อง 30 ราย ในหัวข้อระบบการเชื่อมโยงและกระบวนการมาตรฐาน พร้อมให้ สถานประกอบการทำ workshop เขียนกระบวนการดำเนินงานขนส่งขององค์กรตนเอง ณ ห้องประชุมกนกนภา เดอะศาลายา จ.นครปฐม
02 พ.ค. 2562
ขอเชิญท่านผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจ เข้าร่วมสัมมนา logistics Showcase'62 ติดอาวุธ ปลุกความคิด เมื่อโลติกส์ไม่ใช่แค่เรื่องการขนส่ง วันที่ 24 พ.ค. 62 เวลา 08.30–16.30 น. ณ โรงแรมเวียงอินทร์ จังหวัดเชียงราย
ขอเชิญท่านผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจ เข้าร่วมสัมมนา logistics Showcase'62 ติดอาวุธ ปลุกความคิด เมื่อโลติกส์ไม่ใช่แค่เรื่องการขนส่ง วันที่ 24 พ.ค. 62 เวลา 08.30&ndash;16.30 น. ณ โรงแรมเวียงอินทร์ จังหวัดเชียงราย เข้าร่วมอบรม ลงทะเบียนออนไลน์ คลิ๊กกกกก ...
29 เม.ย. 2562
กิจกรรมชี้แจงโครงการเชื่อมโยงเครือข่ายโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ครั้งที่ 3
วันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2562นายเจริญภพ พรวิริยางกูร ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมโลจิสติกส์องค์กร กล่าวเปิด กิจกรรมชี้แจงโครงการเชื่อมโยงเครือข่ายโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ครั้งที่ 3 ณ โรงแรมบีชโฮเตล กทม.มีผู้เข้าร่วม 30 ราย
24 เม.ย. 2562
กองโลจิสติกส์ ขอเชิญสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมเข้าร่วมโครงการ "กิจกรรม Coaching เชื่อมโยงเครือข่ายโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน"
กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขอเชิญสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมเข้าร่วม"กิจกรรม Coaching เชื่อมโยงเครือข่ายด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน"ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ปัญหาที่พบในโซ่อุปทาน ตัวอย่างเช่น- โซ่อุปทานไม่ใช่แค่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อกับ Supplier เท่านั้น- การทำงานขาดความรวดเร็ว ไม่มีความคล่องตัว มีต้นทุนสูง ขาดความน่าเชื่อถือ และใช้สินทรัพย์ ยังไม่คุ้มค่า- ยังไม่มีกลยุทธ์การจัดการโซ่อุปทาน ขาดการวางแผนร่วมกันในโซ่อุปทาน มีการส่งต่อทรัพยากรจนถึงสินค้าไปถึงลูกค้า และการสนองต่อความต้องการของลูกค้าไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ลูกค้าอาจได้รับสินค้าและบริการที่มีต้นทุนสูงและคุณภาพต่ำ การดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม- ชี้แจงโครงการ โดยประเมินและวิเคราะห์ศักยภาพของสถานประกอบการในเบื้องต้น มีการวินิจฉัยและวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพ เตรียมข้อมูลและการใช้แบบฟอร์มในการจัดทำ Action Plan Project- Coaching for Logistics and Supply Chain Network ระยะเวลา 3 วัน เพื่อวิเคราะห์โครงสร้าง โซ่อุปทานของธุรกิจ จัดทำ Action Plan Project เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์และโซ่อุปทานอย่างน้อยร้อยละ 15- ให้คำปรึกษาในสถานประกอบการ จำนวน 2 วันต่อราย แนะนำเชิงลึกและจัดประชุมเครือข่ายโซ่อุปทานนำร่อง โดยใช้ระบบการเชื่อมโยงเครือข่าย (Supply chain Platform)- ประกวดแผนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพื่อคัดเลือกสถานประกอบการต้นแบบ สถานประกอบการจะได้รับประโยชน์1. เพื่อสามารถนำโครงสร้างเครือข่ายโซ่อุปทานธุรกิจของ SMEs ไปใช้ประโยชน์และสามารถกำหนดทิศทาง เป้าหมาย และกลยุทธ์ธุรกิจในอนาคตได้2. เพื่อสามารถวางแผนการจัดการผลิตภัณฑ์ในโซ่อุปทานให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ3. เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของธุรกิจได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ15 ++ รางวัลเชิดชูเกียรติสถานประกอบการที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ (Success Cass)++ สินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนสำหรับ SME ด่วน!!! สมัครก่อนมีสิทธิก่อน รับสมัครตั้งแต่วันนี้ หรือ ครบจำนวน ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย >>คลิกเพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการ<< ติดต่อ คุณภาสันต์ วิชิตอมรพันธ์ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400โทร. 0 2354 3172-3 โทรสาร 0 2354 3169E-Mail: promote.dol@gmail.comWeb: https://dol.dip.go.th/th
22 เม.ย. 2562
ขอเชิญเข้าร่วมอบรมหลักสูตร "Factory Automation to Industry 4.0"
ขอเชิญเข้าร่วมอบรมหลักสูตร "Factory Automation to Industry 4.0" ถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีและโซลูชั่นระบบอัตโนมัติเพื่องานอุตสาหกรรม ตั้งแต่เทคโนโลยีที่มีในปัจจุบัน ความสำคัญของระบบในด้านการจัดการโลจิสติกส์ภายในองค์กร ตลอดจนการประยุกต์ใช้งานระบบให้เหมาะสมกับองค์กร ในวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2562 ณ โรงแรม อีสติน มักกะสัน กรุงเทพฯ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจในบริบทของเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติเพื่องานอุตสาหกรรมทั้งหมด และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมในด้านการจัดการโลจิสติกส์ภายในองค์กร สนใจลงทะเบียนที่นี่ คลิก หรือ SCAN QR-CODE ดาวน์โหลดกำหนดการอบรม คลิก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร : 02-354-3173 , 062-2391495
09 เม.ย. 2562