หมวดหมู่
ิกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้การเสริมสร้างความร่วมมือด้านโลจิสติกส์และ โซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรม
ขอเชิญบุคลากรในสุถานประกอบการร่วม "กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้การเสริมสร้างความร่วมมือด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรม ปีงบประมาณ 2564" โดย กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อบรมความรู้ เพื่อนำไปปรับใช้ในภาคอุตสาหกรรม (ฟรี) และผู้ให้ความสนใจทั่วไป เพื่อนำไปประยุคใช้ในชีวิตประจำวัน ลงทะเบียน กิจกรรมเสริมสร้างความร่วมมือด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (ท่านสามารถเลือกได้หลายหัวข้อตามความต้องการ) คลิ๊กเลย : https://forms.gle/GQUJ5PHp7Zsd2fNL6 การจัดกิจกรรมในระหว่างวันที่ 31 ส.ค. 2564 และ, 1, 7, 8, 10 ก.ย. 2564 เวลา : 9:00-16:00 น. แต่ละวันมี 4 ห้อง รวม 20 ห้อง หัวข้อสัมมนาหลากหลายไม่ซ้ำกัน สามารถเลือกเข้าได้ตามความต้องการโดยท่านสามารถเข้าร่วมรับฟังและรับชมผ่านได้ทาง Zoom Online ด้วยการลงทะเบียน และเข้าคลิกลิ้งค์บนแบบลงทะเบียน เพื่อเลือกเข้าห้องต่างๆทั้ง 20 ห้อง ตลอดทั้ง 5 วัน :* กรุณาให้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อประโยชน์ของท่านเองในการเข้ารับฟังและรับชม และขอรับข้อมูลภายหลัง *
23 ส.ค 2564
ขอเชิญผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ออนไลน์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรมอย่างมืออาชีพ
ขอเชิญผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ออนไลน์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรมอย่างมืออาชีพ ระหว่างวันที่ 1-14 กันยายน 2564 6 หลักสูตรครบเครื่องเรื่องโลจิสติกส์ พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรมชั้นนำ(สมัครได้มากกว่า 1 หลักสูตร) ✅1. หลักสูตร "Planning"วันที่ 1, 4 กันยายน 2564 โดย อาจารย์จิรภัทร ธนโชติกีรติ✅2. หลักสูตร “Lean Strategy” วันที่ 2-3 กันยายน 2564โดย ดร.สุวัฒน์ จรรยาพูน✅3. หลักสูตร “IT Logistics” วันที่ 6-7 กันยายน 2564 โดย อาจารย์สินชัย บงกชศิริกุล✅4. หลักสูตร “Purchasing” วันที่ 8-9 กันยายน 2564 โดย อาจารย์กมลทิพย์ จันทรมัส✅5. หลักสูตร “Warehousing” วันที่ 10-11 กันยายน 2564 โดย ดร.กันติชา บุญพิไล✅6. หลักสูตร “Inventory” วันที่ 13-14 กันยายน 2564 โดย อาจารย์อภิญญา โรจนพานิช สอบถามเพิ่มเติม โทร 097-219-4544id line 0891548101สมัครเลย คลิก!!shorturl.at/hqJX1
19 ส.ค 2564
กิจจกรรมเตรียมความพร้อม SMEs ฝ่าวิกฤติ COVID-19
ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ฟรีกับ กิจกรรมเตรียมความพร้อม SMEs ฝ่าวิกฤติ COVID-19 ด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรม จัดเต็มกับ 20 หัวข้อ (หัวข้อละ 3 รุ่น) ที่น่าสนใจทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในการฝ่าวิกฤต COVID-19 ไม่ว่าจะเป็น การรับมือกับวิกฤต การเพิ่มประสิทธิภาพกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว กลยุทธ์ในการบริหารและจัดการต้นทุนในสถานการณ์วิกฤต พบกับ วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน จัดโดยกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ✅ ระหว่างวันที่ 18 สิงหาคม – 15 กันยายน 2564✅ ผ่านระบบออนไลน์ Zoom คลิกลิ้ง https://lin.ee/2WUmVoL หรือ สแกน QR CODEสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมคุณภัทราภรณ์ โทร 087-7989696คุณพันธิตรา โทร 083-0602932
17 ส.ค 2564
กองโลจิสติกส์ขอเชิญสถาน​ประกอบการ​ เข้าร่วมโหลดโปรแกรม​ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ​ในการบริหาร​จัดการ​ด้านโลจิสติกส์
#กองโลจิสติกส์บอกข่าวดี ในวิกฤตมีโอกาส และโอกาสอยู่ตรงนี้เรามีโปรแกรมดีๆมาให้ผู้ประกอบการได้ใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมขอเชิญสถานประกอบการเข้าร่วมโหลดโปรแกรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ โดยเรามีโปรแกรมให้ดาวน์โหลด 2 โปรแกรมด้วยกัน พร้อมคู่มือการใช้งาน1.โปรแกรมเมขลา : โดยให้คุณพยากรณ์ความต้องการได้อย่างแม่นยำ2.โปรแกรม Stock Management : ช่วยให้คุณบริหารจัดการสต๊อกได้อย่างถูกต้องและแม่นยำสมัครเพื่อเข้าร่วมการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ตั้งแต่วันนี้ - วันที่ - 6 กันยายน 2564 (โดยไม่มีค่าใช้จ่าย)https://docs.google.com/.../18VaYCz8eAmPvG7itPuPT.../edit...ติดต่อสอบถาม โทร. 063-191-7842กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
16 ส.ค 2564
บทความเผยแพร่ความรู้ ด้านการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง เรื่อง: การเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนและการควบคุมสินค้าคงคลัง
บทความเผยแพร่ความรู้ ด้านการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง เรื่อง: การเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนและการควบคุมสินค้าคงคลัง ผู้เขียน อ.มงคล พันธุมโกมล ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "การเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการบริหารจัดการสินค้าคงคลังเพื่อการบริหารจัดการโลจิสติกส์" ภายใต้กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ประจำปีงบประมาณ 2564 เมื่อซื้อวัตถุดิบ ชิ้นส่วน บรรจุภัณฑ์ หรือสินค้าสำเร็จรูปเข้ามาถือครองไว้ในระบบของสถานประกอบการเพื่อการผลิต การประกอบ หรือการขาย เป็นจุดเริ่มต้นของระยะเวลาการจัดเก็บวัตถุดิบหรือสินค้าคงคลัง จนกระทั่งวัตถุดิบ ชิ้นส่วน บรรจุภัณฑ์ หรือสินค้าดังกล่าว ถูกนำไปผลิต แปรรูป และขายออกไปจากระบบของสถานประกอบการ จึงสิ้นสุดระยะเวลาการเก็บวัตถุดิบหรือสินค้าคงคลัง ระยะเวลาการจัดเก็บวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง เป็นผลจากการวางแผนและการปฏิบัติงานร่วมกันตลอดกระบวนการโซ่อุปทาน ตั้งแต่การพยากรณ์ความต้องการของตลาด การพยากรณ์ยอดขาย การวางแผนสินค้าคงคลัง การวางแผนการผลิต การวางแผนความต้องการวัตถุดิบ การวางแผนวัตถุดิบคงคลัง และการวางแผนการจัดซื้อวัตถุดิบ อัตราการนำเข้าและการจ่ายออกของวัตถุดิบที่แตกต่างกันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับวัตถุดิบคงคลัง หากอัตราการนำเข้ามามากกว่าการจ่ายออกทำให้ปริมาณการจัดเก็บวัตถุดิบมากขึ้นและมีแนวโน้มของระยะเวลาการจัดเก็บนานขึ้นหากอัตราการนำเข้าน้อยกว่าการจ่ายออกทำให้ปริมาณการจัดเก็บวัตถุดิบน้อยลงและมีแนวโน้มของระยะเวลาการจัดเก็บสั้นลงหรือทำให้วัตถุดิบขาด การวางแผนและการควบคุมระดับของปริมาณวัตถุดิบคงคลังเป็นผลของการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่จัดการนำวัตถุดิบเข้ามาในระบบ(ฝ่ายวางแผนวัตถุดิบและฝ่ายจัดซื้อ) กับหน่วยงานที่นำวัตถุดิบไปใช้งาน (ฝ่ายผลิต) การวางแผนและการควบคุมระดับของปริมาณสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเป็นผลของการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่จัดการผลิตสินค้าสำเร็จรูป (ฝ่ายผลิต) และหน่วยงานที่นำสินค้าสำเร็จรูปออกขาย (ฝ่ายขายและฝ่ายจัดการคำสั่งซื้อจากลูกค้า) การจัดการให้เกิดความสมดุลของระดับวัตถุดิบคงคลังและสินค้าคงคลังทั้งระบบเกิดจากการวางแผนและการควบคุม รวมถึงความสามารถในการปรับเปลี่ยนเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่เป็นไปตามคาดหมาย เพื่อสร้างให้เกิดความสมดุลใหม่ การควบคุมระดับคงคลัง คือ การจัดการให้อยู่ในช่วงระดับที่กำหนดต่ำสุดและสูงสุด (Min-Max) ของวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูปแต่ละชนิด จำเป็นต้องทราบข้อมูลพื้นฐาน 5 ประการ สำหรับการวางแผนและการควบคุม ได้แก่ 1. ข้อมูลระดับคงคลังในปัจจุบัน (Current Inventory) 2. ข้อมูลระดับคงคลังสำรองในอนาคตเพื่อความปลอดภัย(Safety Stock) 3. ข้อมูลระยะเวลานำของการเติมวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูป (Lead Time) 4. ข้อมูลพยากรณ์การใช้หรือการขาย (Sales Forecast) และ 5. ข้อมูลปริมาณการเติมวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูปในแต่ละครั้ง (Order Quantity) ผู้ที่ทำหน้าที่จัดทำแผนและควบคุมระดับคงคลังควรกำหนดความถี่ของการวางแผนและการติดตามให้เหมาะสมกับรอบการเติมวัตถุดิบหรือสินค้าแต่ละชนิด ใช้การคำนวณ Re-Order Point มาวิเคราะห์และเตรียมการสำหรับจังหวะการเติมวัตถุดิบหรือสินค้าในจังหวะที่เหมาะสมเพื่อให้ระดับคงคลังอยู่ในระดับเป้าหมายสอดคล้องกับตัวแปรที่ถูกระบุไว้ในแผน การออกแบบตารางคำนวณ Re-Order Point โดยการเปลี่ยนมุมมองจากการติดตามระดับสินค้าเมื่อถึงระดับที่ต้องสั่งซื้อมาเป็นมุมมองของวันที่ที่ต้องสั่งซี้อโดยตารางคำนวณจะแปลงระดับสินค้าคงคลังให้เป็นวันที่ที่ต้องดำเนินการตามตัวแปรที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า ทำให้เข้าใจว่ายขึ้นสำหรับผู้วางแผนและผู้เกี่ยวข้อง การพัฒนาตารางคำนวณ Re-Order Point ใน MS Excel จะช่วยให้ผู้วางแผนสามารถจัดลำดับความสำคัญของสินค้าที่ต้องนำเข้าหรือผลิตเพื่อเติมสินค้าให้อยู่ในระดับเป้าหมายอยู่เสมอ และง่ายต่อการติดตามตรวจสอบสินค้าคงคลังอยู่เป็นประจำ ตัวอย่างตารางคำนวณ Re-Order Point ของสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ การพัฒนาตารางคำนวณ Re-Order Point จะต้องมีความเข้าใจในข้อมูลที่เป็นตัวแปรสำคัญสำหรับการคำนวณ หากมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้การวางแผนมีโอกาสผิดพลาดและอาจมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการส่งมอบสินค้าและต้นทุนด้านการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ตารางต่อไปนี้แสดงผลกระทบของอัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลังเมื่อมีข้อมูลการวางแผนที่ไม่ถูกต้อง เมื่อขาดข้อมูลพื้นฐานได้แก่ : ผลกระทบต่ออัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง 1 ข้อมูลสถานะระดับสินค้าในปัจจุบัน (Current Stock) การคำนวณแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบ แผนการผลิต แผนการเติมสินค้าคงคลัง มีโอกาสผิดพลาดทั้งหมด ทำให้ปริมาณคงคลังบางชนิดมากเกินไป และบางชนิดน้อยเกินไปไม่เพียงพอสำหรับการผลิตหรือการขาย 2 ข้อมูลระดับคงคลังสำรอง (Safety Stock) มีแนวโน้มทั้งด้านการเตรียมคงคลังสำรองมากเกินไป หรืออาจเตรียมคงคลังสำรองน้อยเกินไป เนื่องจากไม่ทราบปริมาณสำรองที่เหมาะสม 3 ข้อมูลระยะเวลาส่งมอบ (Lead Time) มีแนวโน้มทั้งด้านการเติมสินค้าเร็วเกินไป หรืออาจเติมสินค้าช้าเกินไป เนื่องจากไม่ทราบระยะเวลาส่งมอบ (Lead Time) ที่ถูกต้อง 4 ข้อมูลพยากรณ์ยอดขาย (Sales Forecast) มีแนวโน้มทั้งด้านการเตรียมสินค้ามากเกินไป หรืออาจเตรียมสินค้าน้อยเกินไป เนื่องจากไม่มีข้อมูลพยากรณ์การใช้หรือการขายที่แม่นยำ 5 ข้อมูลปริมาณเติมสินค้า (Order Quantity) มีแนวโน้มทั้งด้านการเติมสินค้ามากเกินไป หรืออาจเติมสินค้าน้อยเกินไป เนื่องจากไม่ทราบข้อมูลปริมาณการเติมสินค้าที่เหมาะสม นอกจากนี้การวัดประสิทธิภาพการถือครองวัตถุดิบหรือสินค้าคงคลังด้วยมิติของระยะเวลาเป็นการเปรียบเทียบปริมาณการถือครองกับปริมาณการใช้หรือการขาย เรียกว่า Inventory Day of Supply หรือ DOS สามารถคำนวณได้โดยการนำข้อมูลปริมาณการจัดเก็บมาหารด้วยปริมาณการใช้ (ในกรณีวัตถุดิบ) หรือหารด้วยปริมาณการขาย (ในกรณีของสินค้าสำเร็จรูป) ผลลัพธ์ที่ได้จะให้คำตอบว่าปริมาณวัตถุดิบที่มีอยู่พอใช้ได้อีกกี่วัน หรือสินค้าสำเร็จรูปที่มีอยู่พอขายได้อีกกี่วัน สินค้าสำเร็จรูปหรือวัตถุดิบที่จัดเก็บเป็นเวลานานซึ่งสถานประกอบการมักเรียกตามสถานะที่จัดเก็บ เช่น Slow Moving Stock หรือ Dead Stock ขึ้นกับคำจำกัดความของแต่ละแห่ง เช่น บางแห่งกำหนดระยะเวลาเกิน 1 ปี และไม่มีแนวโน้มการขายหรือการใช้อีกจะเรียกว่า Dead Stock หากจัดเก็บมานานเกิน 6 เดือนแต่ไม่เกิน 1 ปี เรียก Slow Moving Stock เป็นต้น คำจำกัดความที่เหมาะสมสำหรับ Slow Moving Stock ควรจะเป็นระยะเวลาที่เกินจากความคาดหวังของการเติมสต็อกเข้ามาในระบบตั้งแต่แรก เช่น การจัดซื้อวัตถุดิบเข้ามามีความคาดหวังว่าวัตถุดิบชุดนั้นควรจะถูกใช้ไปหมดภายในเวลา 3 เดือน ดังนั้นหากเกิน 3 เดือนน่าจะถือได้ว่าเป็น Slow Moving Stock ส่วน Dead Stock ก็คือสต็อกที่มีแนวโน้มว่าจะไม่ได้ขายหรือไม่ได้ใช้อีกต่อไป Slow Moving Stock ที่ไม่ได้รับการแก้ไขหรือจัดการนำไปใช้หรือขายด้วยวิธีพิเศษ จะกลายเป็น Dead Stock ในที่สุด สาเหตุของการเกิดสินค้าคงคลังซึ่งมีระยะเวลาการจัดเก็บนานเกินกว่าที่คาดไว้จนเป็น Slow Moving Stock หรือ Dead Stock อาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น - ลูกค้ายกเลิกคำสั่งซื้อ - จัดเตรียมสินค้าซึ่งไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้าเนื่องจากการพยากรณ์ผิดพลาด - สินค้าที่ผลิตไม่มีคุณภาพตามมาตรฐาน - การวางแผนโซ่อุปทานไม่มีประสิทธิภาพ การควบคุมระดับคงคลังสำรองและคงคลังรวมไม่เหมาะสม เตรียมไว้มากเกินไป ไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่ดี -สินค้าเสียหายหรือมีตำหนิอันเกิดจากปฏิบัติการโลจิสติกส์ ฯลฯ การจัดการปัญหาเกี่ยวกับ Slow Moving Stock หรือ Dead Stock ต้องใช้กระบวนการพิเศษที่เป็นความร่วมมือระหว่างฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต ฝ่ายคลัง ฝ่ายบัญชี และฝ่ายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อขาย หรือนำกลับมาใช้ใหม่ หรือบริจาค หรือทำลายทิ้ง เพื่อจัดการสต็อกดังกล่าวออกจากการถือครอง ในระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพจะต้องประกอบด้วยการวางแผนที่ดีและการควบคุมที่ดีคู่กันไปเสมอ ในกระบวนการวางแผน ได้แก่ การจัดเตรียมสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตร่วมกัน ส่วนการควบคุม ได้แก่ การติดตามดูผลการดำเนินงานว่ายังอยู่ในวิสัยของแผนหรือไม่ มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแผนหรือไม่ การวางแผนวัตถุดิบ การวางแผนการผลิต การวางแผนสินค้าคงคลัง การวางแผนการจัดส่ง ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ แผนที่ดีย่อมทำให้มีการเริ่มต้นปฏิบัติงานที่ดี จากนั้นอยู่ที่ประสิทธิภาพการดำเนินงานตลอดทั้งกระบวนการ ได้แก่ การจัดซื้อ การผลิต การเตรียมสินค้าคงคลัง และการจัดส่งสินค้าไปให้ลูกค้า ในระหว่างนี้จะต้องมีการตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน ตรวจสอบทุกขั้นตอนว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่ เช่น จัดซื้อวัตถุดิบเข้าตามที่กำหนดหรือไม่ ผลการผลิตได้ตามปริมาณและตามเวลาที่กำหนดในแผนหรือไม่ ระดับสินค้าคงคลังที่เตรียมไว้ขายลูกค้าอยู่ในระดับที่กำหนดในแผนหรือไม่ และการจัดส่งสินค้าในขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการโลจิสติกส์ ได้ส่งมอบให้กับลูกค้าตรงเวลาและเต็มจำนวนหรือไม่ กระบวนการตรวจสอบนี้เป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ในการติดตามผลการดำเนินงานด้านโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ข้อมูลสำคัญที่สะท้อนให้เห็นสถานะการดำเนินงานตามความเป็นจริงได้ดีที่สุด คือ สถานะของระดับสินค้าคงคลังในปัจจุบันมีความจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องจะต้องติดตามข้อมูลสถานะของระดับคงคลังในปัจจุบันเพื่อประเมินและปรับเปลี่ยนแผนโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดดังนั้นสถานประกอบการต้องให้ความสำคัญกับระบบการติดตามข้อมูลสินค้าคงคลังปัจจุบัน โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเสริมการจัดการข้อมูลสินค้าคงคลังและพัฒนาระบบจัดการให้ข้อมูลสินค้าคงคลังมีความถูกต้องอยู่เสมอ
06 ส.ค 2564
ขอเชิญบุคลากรของสถานประกอบการเข้าร่วมอบรมหลักสูตร : “CEO Sustainability Supply Chain Strategy"
ขอเชิญบุคลากรของสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการดี ประจำปี 2564 เสริมสร้างศักยภาพบุคคลากรด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในภาคอุตสาหกรรม ในหลักสูตร : "CEO Sustainability Supply Chain Strategy" “สำหรับผู้บริหารและเจ้าของกิจการในภาคอุตสาหกรรมการผลิต และหรือผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์” ⭐️⭐️สิ่งที่จะได้รับหลังการอบรม ⭐️⭐️ ✅ พัฒนาความรู้และทักษะเพื่อประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ✅ Up Skill ภาวะความเป็นผู้นำด้านซัพพลายเชน ✅ ทักษะ ความรู้ความสามารถ สำหรับ CEO ในยุค New Normal กับกลยุทธ์ซัพพลายเชนที่ยั่งยืน ✅ การพัฒนาอย่างยั่งยืน SDGS และการสร้างเศรษฐกิจยั่งยืนตามหลัก UNGC 10 ประการ ✅ แบบจำลองกลยุทธ์การจัดการซัพพลายเชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแบบบูรณาการ ✅กรณีศึกษาและบทเรียนสำคัญเพื่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืน ✅ รับใบประกาศนียบัตรจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเมื่อ อบรมครบตามเงื่อนไขของหลักสูตร พบกับวิทยากร : ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนระดับสากล ดร.กฤษฎ์ ฉันทจิรพร [:รูปแบบกิจกรรมปรับให้สอดคล้องกับมาตรการ COVID-19 ผ่านระบบ ZOOM] ระยะเวลาดำเนินการอบรม 6 วัน : ฝึกอบรมในวันที่ 5 กันยายน 2564 : ช่วงเวลา 09.00 - 16.30 น. : ฝึกอบรมในวันที่ 6 - 9 กันยายน 2564 : ช่วงเวลา 13.00 - 16.30 น. ***ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ตลอดระยะเวลาการอบรม*** สอบถามเพิ่มเติม คุณธีรศักดิ์ โทร. 084-788-4696 สมัครเข้าอบรมสแกน QR CODE จากโปสเตอร์ได้เลย หรือคลิ๊กเลย : https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSe5YluTAjj7Kj_vNEFF8bbflfMcmdYMlD2pL-6MGUXKIaeUTQ/viewform?usp=sf_link
04 ส.ค 2564
ขอเชิญบุคลากรของสถานประกอบการเข้าร่วมอบรมหลักสูตร : "Building Sustainability Competencies of Effective Supply Chain Manager การเสริมสร้างทักษะและสมรรถนะที่ยั่งยืน สำหรับผู้จัดการซัพพลายเชนอย่างมีประสิทธิภาพ"
ขอเชิญบุคลากรของสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการดี ประจำปี 2564 เสริมสร้างศักยภาพบุคคลากรด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในภาคอุตสาหกรรม ในหลักสูตร : "Building Sustainability Competencies of Effective Supply Chain Manager การเสริมสร้างทักษะและสมรรถนะที่ยั่งยืน สำหรับผู้จัดการซัพพลายเชนอย่างมีประสิทธิภาพ" “สำหรับบุคลากรระดับผู้จัดการของสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมการผลิต และหรือผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์” ⭐️⭐️สิ่งที่จะได้รับหลังสมัครเข้าร่วมอบรม ✅ พัฒนาความรู้และทักษะเพื่อประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ✅ Up Skill การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนแบบมืออาชีพ ✅ เสริมสร้างทักษะ การบริหารจัดการซัพพลายเชน ที่เป็นมาตรฐานสากล ✅ รับใบประกาศนียบัตรจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเมื่อ อบรมครบตามเงื่อนไขของหลักสูตร พบกับวิทยากร : ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนระดับสากล ดร.กฤษฎ์ ฉันทจิรพร [ :รูปแบบกิจกรรมปรับให้สอดคล้องกับมาตรการ COVID-19 ผ่านระบบ ZOOM] ระยะเวลาดำเนินการอบรม 6 วัน : ฝึกอบรมในวันที่ 16-20, 22 สิงหาคม 2564 : ช่วงเวลา 13.00 - 16.30 น. ***ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ตลอดระยะเวลาการอบรม*** สอบถามเพิ่มเติม คุณธีรศักดิ์ โทร. 084-788-4696 สมัครเข้าอบรมสแกน QR CODE จากโปสเตอร์ได้เลย หรือคลิ๊กเลย : https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfHRSBrfXcnVWHMtPng6hbpPAA1LbX8TPhhD-if_LPuuA7Ung/viewform?usp=sf_link
03 ส.ค 2564
Supply chain logistics
Supply chain logistics แปลและเรียบเรียงบทความโดย นางสาวพสุธร คงทอง สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กิจกรรมการศึกษาฝึกงานประจำปีการศึกษา 2563 ณ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกในขณะไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยของประชาชนทุกคนเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อธุรกิจด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนซึ่งเป็นธุรกิจที่สำคัญในการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานให้มีความต่อเนื่องตลอดทั้งห่วงโซ่ โดยในด้านการขนส่งสินค้าได้มีการควบคุมชายแดนและกฎระเบียบทางศุลกากรที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดการรอคอยจากกระบวนการและความเข้มงวดของกฎระเบียบที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้การขนส่งยังขาดความสามารถในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติงานของผู้ที่อยู่ในระยะทางที่ไกลออกไป รวมทั้งความสามารถในการขนส่งสินค้าจากร้านค้าสู่ปลายทางลูกค้าที่เกิดความท้าทายที่รุนแรง ด้วยเหตุนี้องค์กรต่างๆจึงต้องเร่งเปลี่ยนแปลงและพัฒนาด้านดิจิทัลให้กับธุรกิจโลจิสติกส์ โดยเริ่มนำเสนอความสามารถของธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อสร้างโอกาสในการเลือกใช้บริการของลูกค้า เช่น ความสามารถในการตรวจสอบคำส่งซื้อแบบ Real time การมองเห็นสินค้าคลังแบบครบวงจร และประสบการณ์ด้าโลจิสติกส์แบบย้อนกลับ นอกจากนี้ธุรกิจยังสามารถใช้โอกาสดังกล่าวเพื่อเริ่มต้นการดำเนินงานในรูปแบบใหม่โดยใช้ความสามารถด้านดิจิทัล และพัฒนาการรูปแบบการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน การทำเช่นนี้จะช่วยให้ธุรกิจแข็งแกร่งขึ้นด้วยห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ต่อการชะงักของธุรกิจโลจิสติกส์ในอนาคต การดำเนินการหลัก 5 ประการ เพื่อจัดการกับผลกระทบของ Covid-19 ต่อการขนส่ง 1.ปรับปรุงทัศนวิสัย : ใช้ Logistics Control Tower (LCT) ซึ่งเป็นระบบบริหารข้อมูลด้านโลจิสติกส์ สำหรับบริหารจัดการกิจกรรมด้านซัพพลายเชน เพื่อให้มองเห็นการปฏิบัติงานแบบ Real Time 2.เพิ่มความยืดหยุ่น : เพิ่มความสามารถในการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง เพื่อสร้างสมดุลระหว่าอุปสงค์และอุปทาน 3.การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ : การสื่อสารจะเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำเนินงานจึงต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพทั้งกับพนักงาน ผู้ผลิต ผู้ขนส่ง และลูกค้า ทั้งที่อยู่ใกล้และไกลออกไป 4.การสนับสนุนด้านแรงงาน : บริหารจัดการและให้ความสำคัญกับสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีของพนักงาน ตลอดจนการขยายกำลังแรงงานด้านโลจิสติกส์ 5.เป็นผู้ดูแลห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบ : มีความคิดอย่างสร้างสรรค์ต่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน และมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนลูกค้า ผู้ผลิต และเครือข่ายโลจิสติกส์ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื่อไวรัส Covid-19
19 ก.ค. 2564
How to respond to disruption
How to respond to disruption แปลและเรียบเรียงบทความโดย นางสาวจุฑาภา บุญศิริชัย สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กิจกรรมการศึกษาฝึกงานประจำปีการศึกษา 2563 ณ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม แนวทางในการรับมือกับการหยุดชะงัก ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่ยังไม่มีแนวโน้มจะลดลง ซึ่งส่งผลกระทบในหลายด้านของประเทศทั้งด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ และสังคม ทำให้ธุรกิจต้องเผชิญความท้าทายทางการเงินและการปรับตัวในรูปแบบการดำเนินงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในขณะเดียวกันธุรกิจก็ต้องมีการตอบสนองต่อความต้องการของพนักงาน ลูกค้า และผู้ผลิต ผู้นำในกระบวนการห่วงโซ่อุปทานสามารถเปลี่ยนความซับซ้อนการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานได้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ทรงพลังขึ้นได้หากมีการดำเนินงานที่ถูกต้อง หลายธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดในครั้งนี้เกิดการหยุดชะงักในการดำเนินงานไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้และอาจจะทำให้ได้จนต้องปิดตัวลงในที่สุด ดังนั้นในการดำเนินงานจึงต้องมีการเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ทั้งการระดมความเสี่ยง การรับรู้ การวิเคราะห์ การกำหนดค่า และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพผลลัพธ์และลดความเสี่ยงได้ ดังนี้ Mobilize การระดมคำสั่งและแผนรับมือ รวมถึงตั้งกฎสำหรับการตอบสนองการแทรกแซงห่วงโซ่อุปทานและการจัดการยามฉุกเฉิน Sense การรับรู้ ติดตามข้อมูลข่าวสารและจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงทั้งที่เคยเกิดขึ้นแล้วและอาจจะยังไม่เคยเกิดขึ้นแต่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นมาได้ต่อองค์ประกอบและบริการห่วงโซ่อุปทานและระบบนิเวศ Configure กำหนดค่าและพัฒนาความต่อเนื่องของเครือข่ายและสินค้าเพื่อดำเนินการควบคุมโปรโตคอล พัฒนาระบบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อติดตามและประเมิน Analyze วิเคราะห์สถานการณ์และโปรโตคอลแบบ what-if สำหรับแหล่งที่มา การวางแผน การสร้าง การแจกจ่าย และการบริการที่เกี่ยวข้อง การระบาดของ COVID-19 ไม่ได้เป็นเพียงวิกฤตระยะสั้น มันมีความหมายในระยะยาวสำหรับวิธีการทำงานของผู้คนและการทำงานของห่วงโซ่อุปทาน มีความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับธุรกิจในการสร้างความยืดหยุ่นในระยะยาวสำหรับการจัดการห่วงโซ่อุปทานในอนาคต สิ่งนี้ต้องการแนวทางแบบองค์รวมในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน บริษัทต้องสร้างความยืดหยุ่นที่เพียงพอเพื่อป้องกันการหยุดชะงักในอนาคต องค์กรควรพิจารณาในการพัฒนากรอบการทำงานที่แข็งแกร่งซึ่งรวมถึงความสามารถในการดำเนินและการจัดการความเสี่ยงที่สามารถตอบสนองและยืดหยุ่นได้ ความสามารถนั้นควรเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มที่สนับสนุนการวิเคราะห์ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเรียนรู้ของเครื่องจักร นอกจากนี้ยังควรรับรองความโปร่งใสแบบ end-to-end ของห่วงโซ่อุปทาน เมื่อสามารถจัดการเทคโนโลยีได้เช่นนี้การตอบสนองความเสี่ยงจะกลายเป็นส่วนสำคัญของโปรโตคอลทางธุรกิจในในระยะยาว ที่มาบทความ : https://www.accenture.com/be-en/insights/consulting/coronavirus-supply-chain-disruption
19 ก.ค. 2564
Supply Chain Procurement
การจัดซื้อจัดหาของโซ่อุปทาน (Supply Chain Procurement) แปลและเรียบเรียงบทความโดย นางสาวภัทร์รพี เลิศสัฒนนนท์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยมหิดล กิจกรรมการศึกษาฝึกงานประจำปีการศึกษา 2563 ณ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม การจัดซื้อจัดหาของโซ่อุปทาน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่ยังคงมีการแพร่ระบาดในขณะนี้ ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรทั่วโลก แต่ยังส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกที่ทำให้เกิดปัญหาการหยุดชะงักอย่างรุนแรงด้วยเช่นกัน ผู้ประกอบการและธุรกิจจะต้องเตรียมรับมือกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุทานของตน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลดลงของวัตถุดิบที่ต้องใช้ในการผลิต เนื่องจากหลายๆสถานประกอบการณ์ที่เป็นผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบอาจปิดตัวลงเนื่องจากไม่สามารถทนแบกรับกับปัญหาต่างๆได้ ทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบ หรืออาจทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเพราะต้องจัดหาวัตถุดิบจากแหล่งอื่นที่มีราคาสูง ดังนั้นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อจึงมีบทบาทที่สำคัญในการบริหารจัดการและการดำเนินการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เร่งด่วนและช่วยลดการแข่งขันของซัพพลายเออร์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่เป็นปัญหาต่อองค์กรตลอดจนห่วงโซ่อุปทาน จากปัญหาและความพยายามเบื้องต้นจึงต้องให้ความสำคัญกับการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่อยู่ลำดับต้น เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่มักเกิดจากการหยุดชะงักของซัพพลายเออร์ในลำดับที่ 1 และ 2 และในขณะเดียวกันก็ต้องให้ความสำคัญกับการจัดซื้อที่ต้องอาศัยการตัดสินใจภายในเวลาที่จำกัด ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดของห่วงโซ่อุปทานด้วย ในปัจจุบันจึงควรหันมาให้ความสนใจกับการรักษาฐานลูกค้าเก่า การลงทุนอย่างชาญฉลาด และการสร้างความยืดหยุ่นของธุรกิจในอนาคต วิธีการนี้ไม่เพียงช่วยจัดการในภาวะฉุกเฉินจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เท่านั้น แต่ยังสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมเติบโตเมื่อเศรษฐกิจกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง 5 ประเด็นที่ต้องให้ความสนใจ 1. ให้ความสำคัญกับบุคลากรเป็นอันดับแรก : พัฒนารูปแบบการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลและวิธีใหม่ๆ ในการทำงานกับลูกค้าภายใน ความสัมพันธ์ของซัพพลายเออร์ และพันธมิตรภายนอก 2. การรักษาฐานการผลิต : จัดการและลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของอุปทานกับซัพพลายเออร์ทุกขนาด ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ 3. การลงทุนอย่างชาญฉลาด : ลดความเสี่ยงในการลงทุน เพื่อลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและรักษาเงินสดไว้สำหรับการลงทุนในอนาคต 4. สร้างความยืดหยุ่นสำหรับอนาคต : จัดทำกลยุทธ์สำหรับการจัดการความเสี่ยงเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับการดำเนินงานที่ยืดหยุ่นและการตัดสินใจจัดซื้อจัดจ้างตามวัตถุประสงค์ 5. การสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างมีเป้าหมาย : ใช้แนวทางที่มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความไว้วางใจ ความโปร่งใส การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และนวัตกรรมที่มากขึ้นในขณะที่เศรษฐกิจฟื้นตัว การจัดซื้อจัดจ้างของโลกหลังสถานการณ์โควิด-19 หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่ขยายเป็นวงกว้างทำให้การจัดซื้อมีบทบาทสำคัญในการปกป้องศักยภาพทางการเงินของบริษัทและปกป้องฐานอุปทานที่หยุดชะงักอย่างรุนแรง ดังนั้นจึงต้องเตรียมรับมือกับสถานการณ์ในอนาคตของโลกหลังสถานการณ์โควิด-19 โดยควรคำนึงถึง 3 สิ่ง คือ 1. การทำงานตามกระบวนการ : การวางแผนสำหรับสภาวะที่ถดถอยเป็นเวลาหลายเดือนหรือนานกว่านั้น รวมทั้งความเสี่ยงที่การติดเชื้ออาจกลับมาระบาดอีกครั้งทั้งทั่วโลก ภูมิภาค หรือท้องถิ่น 2. การเรียนรู้และพัฒนา : นำความรู้และความสามารถมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความเข้าใจ และยอมรับแนวความคิดของนวัตกรรมที่จะพัฒนาต่อไป 3. เป็นกำลังที่ดีขององค์กร : การปรับรูปแบบองค์กรเพื่อให้มีความยืดหยุ่น ความรับผิดชอบที่มากขึ้น และช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจและสังคม ที่มาบทความ : https://www.accenture.com/be-en/insights/consulting/coronavirus-supply-chain-disruption
19 ก.ค. 2564