หมวดหมู่
องค์ประกอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ประการ และเงื่อนไข 2 ประการ หรือที่เรียกว่า 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีต่อความจำเป็น และเหมาะสมกับฐานะของตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดำเนินการเรื่องต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักศีลธรรมจริยธรรม และวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบรู้และรอบคอบ ระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถปรับตัวและรับมือได้อย่างทันท่วงที เงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้การตัดสินใจ และการกระทำเป็นไปพอเพียง จะต้องอาศัยทั้งคุณธรรมและความรู้ ดังนี้ เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องสร้างเสริมให้เป็นพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ ประกอบด้วย ด้านจิตใจ คือการตระหนักในคุณธรรม รู้ผิดชอบชั่วดี ซื่อสัตย์สุจริต ใช้สติปัญญาอย่างถูกต้องและเหมาะสมในการดำเนินชีวิต และด้านการกระทำ คือมีความขยันหมั่นเพียร อดทน ไม่โลภ ไม่ตระหนี้ รู้จักแบ่งปัน และรับผิดชอบในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยการฝึกตนให้มีความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน มีความรอบคอบ และความระมัดระวังที่จะนำความรู้ต่าง ๆ เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และในขั้นปฏิบัติ
07 เม.ย. 2565
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชวาท เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2565
วันนี้ (1 เม.ย.65) เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ เผยแพร่ภาพและข้อความว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชวาท เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2565 ความว่า ข้าราชการ คือ ผู้ที่ทำงานเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน จึงจำเป็นต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ ว่าสิ่งใดคือประโยชน์ สมควรปฏิบัติ และสิ่งใดไม่ใช่ประโยชน์ ไม่สมควรปฏิบัติ. ความเข้าใจทั้งนี้ เป็นผลจากวิจารณญาณอันเที่ยงตรงถูกต้อง ซึ่งข้าราชการทุกคนควรจะได้ฝึกฝนและสร้างสมให้เป็นคุณสมบัติประจำตัวสืบไป. (พระปรมาภิไธย) มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต วันที่ 2 มีนาคม พุทธศักราช 2565
07 เม.ย. 2565
กองโลจิสติกส์ จิตอาสา "เราทำความดีด้วยหัวใจ" ครั้งที่2 ณ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม 2565
กองโลจิสติกส์ จิตอาสา "เราทำความดีด้วยหัวใจ" ครั้งที่ 2 ณ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพวันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม 2565 . นายเจริญภพ พรวิริยางกูร ผู้อำนวยการกลุ่มมาตรฐานและนวัตกรรมโลจิสติกส์ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นผู้แทนผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ ร่วมด้วยคณะเจ้าหน้าที่กองโลจิสติกส์ เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา ครั้งที่ 2 "เราทำความดีด้วยหัวใจ" โดยร่วมบริจาคสิ่งของอุปโภคบริโภคและปฏิทินตั้งโต๊ะที่ใช้แล้ว แก่มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โรงเรียนคนตาบอดกรุงเทพ
31 มี.ค. 2565
กองโลจิสติกส์ ประกาศยกย่องเชิดชูหน่วยงานที่ได้รับการคัดเลือก หน่วยงานที่มีการส่งเสริมคุณธรรมตามคุณธรรมเป้าหมาย หน่วยงานส่งเสริมคุณธรรมที่ DIProm
วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565 นางสาวปรีดา อ่อนประดิษฐ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ ได้มอบใบประกาศเกียรติบัตร แก่ฝ่ายบริหารทั่วไป ที่ได้รับคัดเลือกเป็นหน่วยงานส่งเสริมคุณธรรมที่ DIProm
25 มี.ค. 2565
ถอดบทเรียนกิจกรรมเชื่อมโยงการประยุกต์ใช้ต้นแบบสารสนเทศโลจิสติกส์ในห่วงโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรมประจำปีงบประมาณ 2565
ถอดบทเรียนกิจกรรมเชื่อมโยงการประยุกต์ใช้ต้นแบบสารสนเทศโลจิสติกส์ในห่วงโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรมประจำปีงบประมาณ 2565 นายพลภัทร บริรักษ์ธนกุล ผู้เขียนบทความ ภายใต้กิจกรรมเชื่อมโยงการประยุกต์ใช้ต้นแบบ สารสนเทศโลจิสติกส์ในห่วงโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม จากภาวะวิกฤตการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จากปี พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2565 (ปีปัจจุบัน) นั้นเป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้สะท้อนให้เห็นปัญหาระบบโซ่อุปทานในระดับโลก และหลายสถานประกอบการได้รับผลกระทบในเชิงลบ รวมถึงได้รับประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาเพื่อที่จะประคองสถานประกอบการให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด หลายๆ สถานประกอบการทั่วโลกเห็นแล้วว่าความเสี่ยงด้านโซ่อุปทาน (Supply Chain Risk) เป็นความเสี่ยงลำดับต้นๆ ที่จะส่งผลต่อการเติบโตขององค์กร ดังนั้นสถานประกอบการจึงจำเป็นต้องวางแผนรับมืออย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้แล้วสถานการณ์โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบโซ่อุปทาน ทำให้หลายบริษัทพยายามหาทางบริหารจัดการให้เกิดความยืดหยุ่น คล่องตัว พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน และหนึ่งในเครื่องมือที่นิยมในการฝ่าวิกฤตการณ์นี้ก็คือ การปรับปรุงระบบโซ่อุปทานด้วยการนำระบบสารสนเทศทางด้านโลจิสติกส์เข้ามาใช้ในระบบโซ่อุปทานของสถานประกอบการนั้นๆ เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการได้อย่างคล่องตัว กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ตระหนักถึงปัญหาของสถานประกอบการภาค SMEs ของประเทศไทย ที่ต้องการนำระบบสารสนเทศทางด้านโลจิสติกส์เข้ามาใช้ปรับปรุงระบบโซ่อุปทานของตนเอง โดยที่หลายๆ สถานประกอบการนั้นติดปัญหาที่ตรงที่ว่า “ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ?” จึงได้จัดกิจกรรมการประยุกต์ใช้ต้นแบบสารสนเทศโลจิสติกส์ในห่วงโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรมประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ให้แก่สถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้สถานประกอบการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านโลจิสติกส์มาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหากิจกรรมด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และช่วยเหลือให้สถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ (Logistics Cost) ได้ ในที่นี้หลายๆ ท่านน่าจะได้ยินคำว่า “Resilience ” เนื่องจากน่าจะเป็นคำที่ยอดฮิต และเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางของคนในวงการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานพูดถึงในวิกฤตการณ์โควิด-19 นี้ โดยคำว่า “Resilience” คือ“การล้มแล้วลุกเร็ว” ผู้เชี่ยวชาญโลจิสติกส์และโซ่อุปทานหลายๆ ท่านก็นิยามคำแปลนี้ เพราะน่าจะเหมาะกับวิกฤตการณ์โควิด-19 นี้มาก เนื่องจากแทบจะทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย ต้องฟื้นตัว ลุกขึ้นให้ได้อย่างรวดเร็ว อย่างแข็งแกร่งและปิดช่องว่างของปัญหาที่เคยเกิด และจะดีแค่ไหนถ้าหากสถานประกอบการได้มีโอกาสแบ่งปันประสบการณ์แนวทางการดำเนินงานแบบ“Resilience ” หรือ “การล้มแล้วลุกเร็ว” ซึ่งหนึ่งในกิจกรรมการประยุกต์ใช้ต้นแบบสารสนเทศโลจิสติกส์ในห่วงโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม ได้มีการจัดกิจกรรมการเชื่อมโยงการประยุกต์ใช้ต้นแบบสารสนเทศโลจิสติกส์ในห่วงโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม ให้แก่สถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อสร้างเครือข่ายในห่วงโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรมให้เกิดพันธมิตรทางธุรกิจในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เป็นกิจกรรมที่นำผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับงานโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ มาสร้างความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ โดยเฉพาะในประเด็นสำคัญคือเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรมซึ่งกิจกรรมการเชื่อมโยงนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นการแลกเปลี่ยน แบ่งปันของข้อมูลให้แก่กันและกันของสถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมแล้วนั้น ยังเป็นแนวทางของเกณฑ์ประกวดรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นในหมวดที่ 5 ความร่วมมือด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานกับองค์กรภายนอกที่ไม่ใช่ซัพพลายเออร์และลูกค้า ของรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ที่ระบุไว้ว่า "องค์กรมีความร่วมมือกับองค์กรที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งไม่ใช่ซัพพลายเออร์ และลูกค้าขององค์กร ในการพัฒนาปรับปรุงการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพ มีแผนงานหรือโครงการที่ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานร่วมกันอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อเนื่อง สามารถวัดผลได้ และอยู่บนพื้นฐานของการได้ประโยชน์ร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย(Win-Win Solution)" และเป็นเกณฑ์ที่ทางกองโลจิสติกส์ ได้เคยทำสถิติว่าเป็นหมวดที่สถานประกอบการที่เข้าประกวดได้คะแนนน้อยที่สุด ผู้จัดจึงได้เล็งเห็นแนวทางการสร้างเครือข่าย พันธมิตร ของสถานประกอบการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน(ไม่ใช่ซัพพลายเออร์ไม่ใช้ลูกค้า) เพื่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาร่วมกันในอนาคต การจัดกิจกรรมการเชื่อมโยงได้ดำเนินการในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบออนไลน์ (ระบบ Zoom) โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมทั้งสิ้น10 กิจการ และบุคคลภายนอกที่มีความสนใจในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยได้รับเกียรติจากนางสาวปรีดา อ่อนประดิษฐ ผู้อำนวยการกลุ่มสารสนเทศโลจิสติกส์ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรม ในช่วงแรกของกิจกรรมจะเป็นการบรรยายในหัวข้อ“แนวทางการลดต้นทุนค่าขนส่งในสถานการณ์น้ำมันแพง” จากอาจารย์สิริพงศ์ จึงถาวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการการขนส่ง ได้บรรยายให้ความรู้ในเรื่องของการลดต้นทุนในสถานการณ์ที่น้ำมันทำราคาสูงสุดในรอบกว่า10 ปี ช่วยให้ผู้รับฟังสามารถที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้และปรับตัวเพื่อบริหารต้นทุนด้านการขนส่งได้ทันทีต่อด้วยกิจกรรมเชื่อมโยงการประยุกต์ใช้ต้นแบบสารสนเทศโลจิสติกส์ในห่วงโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรมโดยมีการนำเสนอผลงานการพัฒนาธุรกิจด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ หลังจากเข้าร่วมโครงการกับทางกองโลจิกติกส์กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันการพัฒนาระบบต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้กับกระบวนการเพื่อลดต้นทุนทั้งด้านกระบวนการ ด้านเวลาและด้านค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังมีการนำเสนอข้อมูลบริษัทและจุดประสงค์ต่างๆที่ต้องการสร้างการเชื่อมโยงกันในอนาคต ทำให้เกิดโอกาสการจับมือกันระหว่างธุรกิจต่อธุรกิจเพื่อต่อยอดการพัฒนาต่ออย่างมั่นคง ต่อด้วยในช่วงบ่ายมีการบรรยายเรื่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโลจิสติกส์ รวมถึงการสอนวิธีการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับกระบวนการการทำงาน โดยอาจารย์ฤกษ์อรุณ เจียมสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรมซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเป็นเสมือนเครื่องมือที่จะช่วยให้ระบบการจัดการทั้งด้านสินค้า/บริการ หรือการจัดการข้อมูล ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจะสามารถช่วยให้กับผู้ประกอบการที่กำลังจะมีแผนขยายกิจการได้มีระบบการจัดการที่สามารถรองรับการเพิ่มขึ้นของข้อมูล การเพิ่มขึ้นของบุคลากร การเพิ่มขึ้นของจำนวนลูกค้า ให้เป็นไปอย่างมีระบบ ถูกต้อง ชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน กิจกรรมเชื่อมโยงการประยุกต์ใช้ต้นแบบสารสนเทศโลจิสติกส์ในห่วงโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม เป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างธุรกิจที่เป็นต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำของโซ่อุปทาน ร่วมสร้างเครือข่ายและพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อพัฒนาธุรกิจให้เข้มแข็งมีศักยภาพสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายและต่อยอดธุรกิจร่วมกัน รวมทั้งเป็นการประสานพลังในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าสู่ระดับสากล โดยอาศัยแนวทางการจัดการระบบโซ่อุปทานยุคใหม่ คือ การปรับรูปแบบการจัดการระบบโซ่อุปทานแบบมีขั้นตอนต่อเนื่องเป็นแบบเครือข่ายพันธมิตร ที่สามารถเพิ่งพาอาศัยความเชื่อมโยงของข้อมูลในการบริหารจัดการให้เกิดความรวดเร็ว คล่องตัว และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผู้เขียนยังมองว่านอกจากสถานประกอบการที่ต้องปรับตัวในวิกฤตการณ์แบบนี้แล้ว การมีพันธมิตรนั้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน
21 มี.ค. 2565
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
11 มี.ค. 2565
กองโลจิสติกส์ ประกาศคุณธรรมเป้าหมาย “ปัญหาที่อยากแก้” และ “ความดีที่อยากทำ”
วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2565 คณะผู้บริหาร ข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขอประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะปฏิบัติตามคุณธรรมเป้าหมาย “ปัญหาที่อยากแก้” และ “ความดีที่อยากทำ” เพื่อขับเคลื่อนกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นองค์กรคุณธรรม และเพื่อให้บุคลากรพัฒนาตนเองให้มีคุณธรรม ทั้ง 4 ประการ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา โดยมีคุณธรรมเป้าหมายดังนี้ ปัญหาที่อยากแก้ 1) การประหยัดพลังงาน. 2) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. 3) ความไม่สะอาดในที่ทำงาน. ความดีที่อยากทำ 1) กิจกรรมปิด (ไฟ) ปรับ (แอร์) ปลด (ปลั๊ก) 2) กิจกรรมถุงผ้ารักษ์โลก. 3) กิจกรรมกองฯ สวย ด้วย 5 ส.
09 มี.ค. 2565
ประกาศกองโลจิสติกส์ เรื่อง ร่วมขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม
ประกาศกองโลจิสติกส์ เรื่อง ร่วมขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม วันที่ 8 มีนาคม 2565 คณะผู้บริหาร ข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างกองโลจิสติกส์ ขอประกาศร่วมกันขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม โดยยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสืบสานวัฒนธรรมไทย พร้อมทั้งส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรพัฒนาตนเองให้มีคุณธรรม 4 ประการ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา
08 มี.ค. 2565
กองโลจิสติกส์ จิตอาสา "เราทำความดีด้วยหัวใจ" ครั้งที่1 ณ โรงพยาบาลสงฆ์ วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565
กองโลจิสติกส์ จิตอาสา "เราทำความดีด้วยหัวใจ" ครั้งที่ 1 ณ โรงพยาบาลสงฆ์ วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 . นางสาวชลาริน นิลพิฤกษ์ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ พร้อมคณะ นำทีมจิตอาสา "เราทำความดีด้วยหัวใจ" ครั้งที่ 1 ณ โรงพยาบาลสงฆ์ โดยนำสิ่งของเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในการอุปัฏฐากพระสงฆ์อาพาธ ประกอบด้วย ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เครื่องวัดความดัน หน้ากากอนามัย เครื่องวัดอุณหภูมิ .
28 ก.พ. 2565
กองโลจิสติกส์ ขอเชิญผู้ประกอบการสมัครเข้าโครงการ "ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ" ปี 2565
"โลจิสติกส์ช่วยธุรกิจเปลี่ยนต้นทุนเป็นเงินทุน" ช่วยลด Cost , Leadtime เพิ่ม Service Level , Reliability สถานประกอบการจะได้รับการให้คำปรึกษาแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญ 9 Man-day โดย 1 สถานประกอบการเลือกได้ 1 โครงการ ดังนี้ 1 การบริหารคลังสินค้า รับ 5 กิจการ เริ่มโครงการ เม.ย. 65 2 วางแผนและการพยาการณ์ความต้องการ รับ 5 กิจการ เริ่มโครงการ เม.ย. 65 สถานประกอบการจะได้รับ - การส่งเสริมให้สถานประกอบการมีการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ สถานประกอบการมีต้นทุนด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่เหมาะสม - การพัฒนาให้ผู้ประกอบการและบุคลากรของสถานประกอบการมีทักษะและองค์ความรู้ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือและเทคนิคการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน - การส่งเสริมให้สถานประกอบการมีตัวชี้วัดประสิทธิภาพและศักยภาพด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน สมัครเลย https://forms.gle/P6Cqqdio8iixKje28 กลุ่มส่งเสริมองค์กร กองโลจิสติกส์ (phone)02-430-6875 ต่อ 5
21 ก.พ. 2565