Category
วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานสัมมนา Logistics Showcase’62 ครั้งที่ 1 หัวข้อ”ติดอาวุธ กลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ ส่งออกอย่างไรให้ปัง
วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานสัมมนา Logistics Showcase’62 ครั้งที่ 1 หัวข้อ”ติดอาวุธ กลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ ส่งออกอย่างไรให้ปัง" โดยมีนางอรพิน อุดมธนะธีระ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบ เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 250 คน
22 ก.พ. 2019
“โลจิสติกส์” นิยามและความหมาย
“โลจิสติกส์” นิยามและความหมาย คำว่า " โลจิสติกส์ " ในปัจจุบันค่อนข้างเป็นที่คุ้นเคยของทุกท่านเป็นอย่างดี เนื่องจาก ไม่ว่าจะมองไปทางไหน ก็จะพบคำว่าโลจิสติกส์ ท่านทราบหรือไม่ว่า "โลจิสติกส์" คืออะไร แล้วมีความสำคัญอย่างไรกับธุรกิจของท่าน ความหมายตามศัพท์บัญญัติของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา หมวดศัพท์เศรษฐศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2558) บัญญัติศัพท์ “โลจิสติกส์” หมายถึง การจัดระบบการดำเนินงาน APICS The Association for Operations Management ได้ให้ความหมายของ Logistics ว่า “In an industrial context, the art and science of obtaining, producing, and distributing material and product in the proper place and in proper quantities” ในบริบทอุตสาหกรรม หมายถึงศิลปะและวิทยาศาสตร์ในการรับ ผลิต และกระจาย วัสดุและผลิตภัณฑ์ ไปยังสถานที่ที่เหมาะสมและในปริมาณที่เหมาะสม Council of Supply Chain Management Professionals (CSCMP) ได้ให้ความหมายของคำว่า Logistics management ดังนี้ “Logistics management is that part of supply chain management that plans, implements, and controls the efficient, effective forward and reverses flow and storage of goods, services and related information between the point of origin and the point of consumption in order to meet customers' requirements” การจัดการโลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทาน ตั้งแต่การวางแผน ดำเนินการและควบคุม การจัดเก็บ การขนส่งสินค้าทั้งไปและกลับ ที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล รวมถึงการบริการและข้อมูลที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงจุดบริโภค เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า การดำเนินกิจกรรมต่างๆ นี้ มีเป้าหมายเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าด้วยต้นทุนที่เหมาะสม อ้างอิงตามรายงานผลการศึกษา Fundamental of Logistics Management โดย Grant et. al., 2006 สรุปเป็นกิจกรรมหลักด้านโลจิสติกส์ 9 กิจกรรม ดังนี้ การให้บริการแก่ลูกค้าและกิจกรรมสนับสนุน (Customer Service and Support) การวางแผนหรือการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า (Demand Forecasting and Planning) การจัดซื้อจัดหา (Purchasing and Procurement) การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) การสื่อสารด้านโลจิสติกส์และกระบวนการสั่งซื้อ (Logistics Communication and Order Processing) การจัดการวัสดุ และบรรจุภัณฑ์ (Materials Handling and Packaging) การขนส่ง (Transportation) การเลือกสถานที่ตั้งของโรงงานและการจัดการคลังสินค้า (Facilities Site Selection, Warehousing, and Storage) โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics) " โลจิสติกส์ " ซึ่งได้รับการนิยามโดยกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หมายถึง กระบวนการวางแผน ดำเนินการ และควบคุม การเคลื่อนไหลทั้งไปและกลับและการจัดเก็บ วัสดุ สินค้าสำเร็จรูป ตลอดจนสารสนเทศที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จากจุดผลิตไปจนถึงจุดที่มีการใช้งาน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ด้วยความถูกต้องและเหมาะสมตามจังหวะเวลา คุณภาพ ปริมาณ ต้นทุน และสถานที่ที่กำหนด นิยามของ " โลจิสติกส์ " นี้ กำหนดขึ้นโดยพิจารณาจากบทบาทความรับผิดชอบและพันธกิจที่เกี่ยวเนื่องและสอดคล้องกับภารกิจในส่วนของอุตสาหกรรมภาคการผลิต ที่ครอบคลุมการพัฒนาส่งเสริมกระบวนการบริหารจัดการกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ ตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ การวางแผน การคาดการณ์ การจัดซื้อจัดหา การผลิต การเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ การรวบรวม การขนส่ง และการกระจาย ทั้งขาเข้าและขาออก ทั้งภายในและภายนอกสถานประกอบการอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐานสากล ลดต้นทุน เพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า และเพิ่มความปลอดภัย และความเชื่อถือได้ในกระบวนการนำส่งสินค้าและบริการ และทั้งหมดนี้ Sense of Logistics มีความมุ่งหมายที่ตรงกัน นั่นคือ ยกระดับศักยภาพกระบวนการผลิต และการกระจายสินค้า/บริการ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งด้านเวลา ต้นทุน และคุณภาพ อ้างอิง Blackstone. APICS Dictionary Thirteenth Edition , 2010 : 82 https://cscmp.org/ Grant et. al. Fundamental of Logistics Management Berkshire : McGraw, 2006: 17-19
12 ก.พ. 2019
Benchmarking : เครื่องมือสู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจ
อรพิน อุดมธนะธีระ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ จากคำพูดที่ว่า “You can’t manage what you don’t measure” ซึ่งเป็นแนวคิดด้านการบริหารในอดีตที่ยังคงสามารถใช้ได้จนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าการที่เราจะบริหารสิ่งใด เราจำเป็นที่จะต้องสามารถวัดผลจากการบริหารนั้นได้ด้วย การวัดผลองค์กรของตนเอง และเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นที่ทำได้ดีกว่า เพื่อการพัฒนาตนเอง เรียกว่า “Benchmarking” ความหมายของ Benchmarking Benchmarking หมายถึง วิธีการในการวัดและเปรียบเทียบ ผลิตภัณฑ์ บริการและวิธีการปฏิบัติกับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า หรือองค์กรชั้นนำในกลุ่ม (Best-in-Class) เพื่อนำผลของการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเองเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจ โดยนำวิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ขององค์กรชั้นนำในกลุ่มซึ่งประสบความสำเร็จมากกว่า ไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาตนเองให้เท่าเทียมหรือเหนือกว่าคู่แข่ง กระบวนการทำ Benchmarking การทำ Benchmarking เป็นการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม ที่สามารถวัดและตรวจสอบได้ มีขั้นตอนในการทำ 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. เราอยู่ที่ไหน กำหนดเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาขององค์กร ระบุถึงตัวชี้วัด (KPIs) และวิธีการเทียบประเมินในมติต่างๆ 2. ใครเก่งที่สุด ดำเนินการวัดตนเองตามตัวชี้วัดที่กำหนด และเปรียบเทียบผลกับองค์กรชั้นนำในกลุ่ม โดยข้อมูลต้องมีความน่าเชื่อถือ 3. เขาทำอย่างไร วิเคราะห์ช่วงห่าง (Gap) ของสมรรถนะต่างๆ หาสาเหตุที่เกิดขึ้น และศึกษาวิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ขององค์กรชั้นนำ เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น 4. เราจะทำอย่างไรให้ดีกว่า จากผลการศึกษาวิเคราะห์นำมาประยุกต์ใช้กับองค์กร เพื่อสร้างคุณภาพ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ยกระดับความสามารถในการแข่งขันขององค์กรให้ยั่งยืนต่อไป การ Benchmarking ประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม การบริหารจัดโลจิสติกส์และโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพของภาคอุตสาหกรรม ส่งผลโดยตรงต่อการลดต้นทุน และเพิ่มความพึ่งพอใจของลูกค้า การทำ Benchmarking เพื่อประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เป็นเรื่องสำคัญและมีความจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการ กองโลจิสติกส์ จึงได้กำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ ที่เป็นรูปธรรม จำนวน 27 ตัวชี้วัด ครอบคลุ่ม 9 กิจกรรมด้านโลจิสติกส์ ใน 3 มิติ ด้านต้นทุน เวลา และความน่าเชื่อถือ ซึ่งสามารถนำไปเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้จริงในการดำเนินงานของสถานประกอบการ โดยอาจจะนำไปปรับเป็น KPIs สำหรับแต่ละแผนกในองค์กรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป สำหรับท่านที่ประสงค์จะประเมินประสิทธิภาพโลจิสติกส์ขององค์กร สามารถ Download คู่มือการประเมินฯ เพื่อศึกษารายละเอียดตัวชี้วัด และทำการกรอกข้อมูลในฟอร์ม Ms Excel ที่ได้ผูกสูตรไว้แล้ว ซึ่งจะทราบผลการประเมินทันที หรือประเมินเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นผ่านระบบ Online ภายใต้ชื่อเว็บไซต์ https://thailogisticsbenchmark.com/ ของ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม Download Click >>> คู่มือการประเมิน ตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม Download Click >>> Ms Excel ประเมินประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม
12 ก.พ. 2019
"PM Award Decoding: ทำอย่างไรให้ได้รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น"
ขอเชิญท่านผู้ประกอบการ เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ "PM Award Decoding: ทำอย่างไรให้ได้รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น" หัวข้อ &ldquo;แกะรอย ถอดรหัสหลักเกณฑ์ สู่รางวัลแห่งความเป็นเลิศ ในการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน" และ "Coaching: เทคนิคการทำรายงานและเทคนิคการนำเสนอ สู่รางวัลแห่งความเป็นเลิศ ในการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน" วันที่ 25 ก.พ 62 เวลา 08.30 &ndash; 16.30 น.ณ ห้องหลานหลวงโรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ และศึกษาดูงานสถานประกอบการต้นแบบที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วันที่ 26 ก.พ 62 เวลา 08.00 &ndash; 16.30 น. จังหวัด ระยอง (สงวนสิทธิ์สำหรับผู้สมัครอบรมด้วยเท่านั้น) จัดโดย กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สนใจเข้าร่วมสัมมนา ลงทะเบียนออนไลน์ คลิ๊กที่นี่ >>ดาวน์โหลดหลักเกณฑ์การพิจารณารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน<< >>ดาวน์โหลดเกณฑ์เครื่องมือวัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม<< สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร. 02 354 3173, 083 689 3393, 063 197 1032 e-mail: logistics.award@gmail.com **หมายเหตุ เจ้าหน้าที่จะตอบรับการสมัครกลับไปยัง email ของท่านในวันที่ 19 ก.พ. 2562
01 ก.พ. 2019
28 มกราคม2562 นายเจริญภพ พรวิริยางกูร ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริม​ โลจิสติกส์องค์กร กล่าวเปิดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติ การดำเนินการโดย กองโลจิสติกส์
28 มกราคม2562 นายเจริญภพ พรวิริยางกูร ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริม โลจิสติกส์องค์กร กล่าวเปิดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติ การดำเนินการโดย กองโลจิสติกส์ กสอ. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ การประเมินและพัฒนาศักยภาพองค์กรด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ณโรงแรมอิสติน มักกะสัน กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจาก ภาคอุตสาหกรรมและภาคการบริการ จำนวน 35 คน
30 ม.ค. 2019
ขอเชิญท่านผู้ประกอบการ เข้าร่วมสัมมนา Logistics Showcase’62 ครั้งที่ 1กรุงเทพฯ หัวข้อ “ติดอาวุธ กลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ ส่งออกอย่างไรให้ปัง” วันที่ 21 ก.พ 62 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ขอเชิญท่านผู้ประกอบการ เข้าร่วมสัมมนา Logistics Showcase&rsquo;62 ครั้งที่ 1กรุงเทพฯหัวข้อ &ldquo;ติดอาวุธ กลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ ส่งออกอย่างไรให้ปัง&rdquo; วันที่ 21 ก.พ 62 เวลา 08.30 &ndash; 16.30 น.ณ ห้อง Mayfair Ballroom A ชั้น 11 โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ โฮเต็ล ประตูน้ำ กรุงเทพฯโดย กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมสัมมนา ลงทะเบียนออนไลน์ คลิ๊กกกกก
29 ม.ค. 2019
24 มค 62 จัดกิจกรรมสัมมนาชี้แจงโครงการโลจิสติกส์เสริมแกร่ง ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดย​นาย​​ติณห์ เจริญใจ​ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์​ กองโลจิสติกส์
24 มค 62 จัดกิจกรรมสัมมนาชี้แจงโครงการโลจิสติกส์เสริมแกร่ง ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยนายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติกล่าวเปิดโครงการฯ และมีผู้ประกอบการเข้าร่วมสัมมนา 128 คน
29 ม.ค. 2019
25​ ม.ค.62​ กองโลจิสติกส์​ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม​ พาผู้ประกอบการที่เข้าจำนวน​ 58​ราย​ ที่อบรมหลักสูตร​ "IT การบริหารจัดการคลังสินค้า" เข้าศึกษาดูงาน​ ณ​ บริษัท​ SCG​ Logistics​ วังน้อย​ จ.พระนครศรีอยุธยา
25 ม.ค.62 กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พาผู้ประกอบการที่เข้าจำนวน 58ราย ที่อบรมหลักสูตร "IT การบริหารจัดการคลังสินค้า" เข้าศึกษาดูงาน ณ บริษัท SCG Logistics วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยระบบคลังสินค้าของที่นี้จะมี 3 แบบ SELECTIVE RACK ,AS/RS ,FLOORING โดยมีนายมนตรี วงศ์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกลุ่มสารสนเทศ กองโลจิสติกส์ นำทีมพาผู้ประกอบการเข้าเยี่ยมชม
29 ม.ค. 2019
สัมมนา การประเมินซัพพลายเชนองค์กร (PDX - Plan and Delivery Excellent) : กรณีศึกษา จาก Global to SME
สัมมนา การประเมินซัพพลายเชนองค์กร (PDX - Plan and Delivery Excellent) : กรณีศึกษา จาก Global to SME จัดสัมมนาภายในงาน 4th MHE& PACK MAC2019 งานแสดงเครื่องจักรระบบขนส่งลำเลียงจัดเก็บ และเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ครั้งที่ 4 วันที่ 6 มีนาคม 2562 เวลา 09.00-12.00 น. Room1 Hall8 อิมแพค เมืองทองธานี บรรยายโดย วิทยากรผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านโลจิสติกส์ ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนา ฟรี http://goo.gl/o8FZvr
28 ม.ค. 2019
สัมมนา “โลจิสติกส์ เสริมแกร่ง”
สัมมนา &ldquo;โลจิสติกส์ เสริมแกร่ง&rdquo; กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ บริษัท ออราเคิล อินเฟอร์ จำกัด ทีมที่ปรึกษา กำหนดจัดกิจกรรมสัมมนา &ldquo;โลจิสติกส์ เสริมแกร่ง&rdquo; ในวันพฤหัสบดี ที่ 24 มกราคม 2562 เวลา 13.00 &ndash; 16.00 น. ณ ห้องประชุมโลตัส ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์ กรุงเทพฯ โดยวัตถุประสงค์ : เพื่อชี้แจงกิจกรรมพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้สถานประกอบการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม มีความเข้าใจ และเตรียมความพร้อมในการดำเนินการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์กับทีมที่ปรึกษาโครงการ โดยได้รับเกียรติจาก รสอ. นายจารุพันธุ์ จารโยภาส เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมและปาฐกถาพิเศษเรื่อง &ldquo;โลจิสติกส์ เสริมแกร่ง ในยุคดิจิทัล&rdquo; ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนา ฟรี https://goo.gl/8JDXJ8 ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม คุณ รุจิราภรณ์ โทร 091-781-5574 E-mail : rujiraporn.r@gmail.com
18 ม.ค. 2019