Category
S-DIFOT (Supplier - Delivery In Full On Time)
[Like สาระโลจิสติกส์ ] โดย ภาณุพงศ์ คำผาด วิศวกรปฏิบัติการ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม . สวัสดีแฟนเพจกองโลจิสติกส์ทุกท่านนะครับ วันนี้แอดมินก็จะมานำเสนอคำว่า “S-DIFOT” นิยมเรียกกันในวงการว่า “เอส-ไดฟอต” เนื่องจากครั้งที่แล้วเราได้พูดถึง DIFOT ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับองค์กรเราไปสู่ลูกค้า วันนี้เรามาพูดถึงกระบวนการจาก Supplier มาถึงเราบ้างดีกว่า . S-DIFOT คืออะไร แล้วทำไมต้องรู้จัก ? . “S-DIFOT” (Supplier Delivery In-Full and On Time Rate) คือ อัตราความสามารถของการจัดส่งสินค้าของซัพพลายเออร์นั้นเอง SDIFOT นี้จะวัดคำสั่งซื้อ หรือใบ PO (Purchase Order) ทั้งหมดที่เราเปิดไปให้กับ Supplier แล้ววัดว่า Supplier นั้นส่งของให้เราครบไหม ตรงเวลาหรือไม่ ซึ่งเราอาจจะเอาตัวชี้วัดไปตั้งเป็น KPI (หรือจะเป็นตัวชี้วัดอะไรก็แล้วแต่นะครับ) เพื่อประเมิน Supplier จัดลำดับว่า Supplier รายใดควรจะเป็น Supplier หลัก รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆ ถ้าหากค่า S-DIFOT ต่ำๆ แสดงว่ากระบวนการจัดส่งสินค้าจาก Supplier มายังผู้ผลิตมีปัญหา ตัวอย่างปัญหาเช่น ของส่งมาไม่ครบตาม PO ที่เปิดไป หรือของที่ส่งมาไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ใน PO เกิดจากการวางแผนไม่เหมาะสม การกำหนด Leadtime ไม่สมดุล การสื่อสารกับ Supplier ไม่ชัดเจน เป็นต้น ถ้าหากเราวัด S-DIFOT ก็จะสามารถทำให้เราวิเคราะห์ข้อมูลได้ง่ายขึ้นเป็นตัวเลขที่ชัดเจน(ไม่ได้ใช้ความรู้สึกในการวัด) หรืออาจจะนำไปประยุกต์ในการให้คะแนน Supplier ในกรณีที่ใช้ AHP (Analytic Hierarchy Process) เมื่อมีการคัดเลือกลำดับ Supplier หรือ จะนำไปตัดเกรด Supplier ก็สามารถทำได้ . การวัด S-DIFOT มักจะใช้หลักๆ 2 แบบ ได้แก่ . 1. Internal Supply Chain เป็นการที่ผู้บริหารที่ต้องการวัดประสิทธิภาพการทำงานของฝ่ายจัดซื้อร่วมกับ Supplier หรือต้องการทราบปัญหาเกี่ยวกับการจัดซื้อในด้านเวลา และด้านความครบถ้วน โดยรวมของฝ่ายจัดซื้อ ตัวอย่างการใช้ : ผู้จัดการบริษัทต้องการวัดประสิทธิภาพโดยรวมของฝ่ายจัดซื้อโดยตั้ง KPI S-DIFOT ของฝ่ายจัดซื้ออยู่ที่ 95% โดยคิดจากจำนวนปริมาณใบ PO ทั้งหมดที่ออกจากฝ่ายจัดซื้อ เพื่อต้องการทราบปัญหาว่าการทำงานระหว่างฝ่ายจัดซื้อและ Supplier ตอบสนอง KPI ในด้านเวลา และด้านความครบถ้วน เป็นต้น . 2. Upstream Supply Chain เป็นการที่ฝ่ายจัดซื้อต้องวัดประสิทธิภาพของ Supplier แต่ละรายว่าเหมาะสมหรือตรงความต้องการขององค์กรหรือไม่ ตัวอย่างการใช้ : ฝ่ายจัดซื้อต้องการวัดประสิทธิภาพ Supplier โดยตั้ง KPI S-DIFOT ให้ Supplier แต่ละรายเพื่อต้องการจัดลำดับและตัดเกรด Supplier 95 – 100 % เกรด A 90 – 94 % เกรด B 85 – 89 % เกรด C และต่ำกว่า 85% ต้องพิจารณา Supplier รายนั้นๆ เป็นต้น . . มาดูการคิดตัวชี้วัดของเราดีกว่า "S-DIFOT" (เอส-ไดฟอต) การคำนวณมีสูตรดังนี้ . กำหนด X = จำนวนใบสั่งซื้อ (Purchase Order) ทั้งหมดที่บริษัทเราส่งให้แก่ Supplier Y = จำนวนใบสั่งซื้อ (Purchase Order) ทั้งหมดที่ Supplier ได้ทำการส่งมอบสินค้าให้เราครบตามจำนวน Z = จำนวนใบสั่งซื้อ (Purchase Order) ทั้งหมดที่ Supplier ได้ทำการส่งมอบสินค้าให้เราครบตามเวลา (ต้องตรงเวลาด้วยนะ ห้ามก่อนกำหนด เพราะถ้าการส่งมาก่อนกำหนดนั้นหมายถึงเราจะต้องถือครอง Inventory นานกว่าปกติ หรือเรียกง่ายๆ ก็ทำให้สต๊อกเราเพิ่มนั้นเอง) . สูตร . ตัวอย่าง ตลอดปี 2563 บริษัทผลิตอาหารแปรรูปแห่งหนึ่ง แผนกจัดซื้อได้ออกใบสั่งซื้อวัตถุดิบและส่งไปยังซัพพลายเออร์ 001 ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ เกรด A จำนวน 3,210 ใบสั่งซื้อ บริษัทได้รับสินค้าครบตามจำนวนที่สั่งซื้อ 3,100 ใบสั่งซื้อ และได้รับสินค้าตรงตามเวลาที่กำหนด จำนวน 3,000 ใบสั่งซื้อ . แผนกจัดซื้อได้ออกใบสั่งซื้อวัตถุดิบและส่งไปยังซัพพลายเออร์ 002 ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ เกรด B จำนวน 2500 ใบสั่งซื้อ บริษัทได้รับสินค้าครบตามจำนวนที่สั่งซื้อ 2,490 ใบสั่งซื้อ และได้รับสินค้าตรงตามเวลาที่กำหนด จำนวน 2,495 ใบสั่งซื้อ . ฝ่ายจัดซื้อต้องการวัดประสิทธิภาพ Supplier โดยตั้ง KPI S-DIFOT ให้ Supplier แต่ละรายเพื่อต้องการจัดลำดับและตัดเกรด Supplier ดังนี้ 95 – 100 % เกรด A 90 – 94 % เกรด B 85 – 89 % เกรด C อัตราความสามารถของการจัดส่งสินค้าของชัพพลายเออร์ สามารถคำนวณได้ ดังนี้ . วิเคราะห์ตัวแปร . - บริษัทเปิด PO ไปหาซัพพลายเออร์ = X (ก็คือใบ PO ทั้งหมดที่ส่งให้แก่ Supplier เจ้านี้แหละ ถ้าจะวัด Supplier ต่อเจ้าให้คิดเฉพาะเจ้า ถ้าจะวัดเพื่อดูความเหมาะสมกระบวนการสั่งซื้อโดยรวม ถ้าเราประสบปัญหาเรื่องวิเคราะห์ Leadtime หรือ Stock บริษัทเรา ก็ให้คิดทั้งหมดได้ อยู่ที่มุมมองคนจะเอาข้อมูลวิเคราะห์) . - บริษัทได้รับสินค้าครบตามจำนวนที่สั่งซื้อ = Y (ถ้าใน 1 PO มี 10 รายการ ถ้าได้รับแค่ 9 รายการ หรือจำนวนไม่ครบ ก็ไม่นับว่า PO นั้นได้รับของครบนะครับ ครบคือต้องครบจริงๆ และครบทั้งหมด) . - บริษัทได้รับสินค้าตรงตามเวลาที่กำหนด = Z (เหมือนกัน ถ้า 1 PO มี 10 รายการสินค้าก็ต้องตรงเวลาทั้ง 10 รายการ หากช้ารายการใดรายการหนึ่ง หรือมาก่อนเวลา ไม่ถือว่า PO นั้นตรงเวลา) . คำนวณได้ดังนี้ . ซัพพลายเออร์ 001 . ซัพพลายเออร์ 002 . จะเห็นได้ว่า S-DIFOT นั้นสามารถนำมาประเมิน Supplier ได้ ซึ่งเป็นอีกตัวชี้วัดที่สามารถทำได้ง่าย และแทบจะทุกองค์กรนั้นมีข้อมูลอยู่แล้ว ดังนั้นผล % ที่ออกมาอาจทำให้ผู้ประกอบการต้องตัดสินใจว่าจะเลือก Supplier รายใดเป็น Supplier หลัก หรืออาจมีเหตุผลอะไรที่ทำให้ Supplier หลักมีคะแนนลดลง ก็ให้พูดคุยปรึกษาหาปัญหาร่วมกันอีกที เนื่องจากการพิจาณา supplier นั้นมีหลายมิติมาก อยู่ที่ว่าองค์กรนั้นจะจับด้านใดเป็นหนักน้ำในการชี้วัด ถ้าตามหลัก 7 R Logistics ได้ระบุไว้ว่า . 7 Right (7R) Logistics Right Product : ส่งผลิตภัณฑ์ถูกต้อง Right Quantity : ส่งผลิตภัณฑ์ในจำนวนที่ถูกต้อง Right Conviction : ส่งผลิตภัณฑ์ที่ไม่เสียหาย Right Customer : ส่งของให้ถูกลูกค้า Right Place : ส่งให้ถูกสถานที่ Right Time : ส่งของให้ทันเวลา Right Cost : ต้นทุนที่ถูกและถูกต้อง (Right and Cheap) . ========================= . สุดท้ายนี้อยากฝาก S-DIFOT ให้กับทุกๆ องค์กรได้พิจารณานำมาประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นหนึ่งในอีกหลายๆ ตัวชี้วัดด้านโลจิสติกส์ ไว้แอดมินจะมาแชร์ความรู้ในหัวข้อต่อๆ ไปให้นะครับ
03 มี.ค. 2021
เอกสารทั่วไป
. *เอกสารดาวน์โหลดฟรีของทางหน่วยงานราชการ ถูกคุ้มครองตามพระราชบัญญัติทรัพย์สินทางปัญญาฯ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามผู้ดาวน์โหลดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือแสวงหาผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ อันถือเป็นการกระทำความผิดทางอาญา . . คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไฟล์
01 มี.ค. 2021
DIFOT (Delivery In Full On Time)
[Like สาระโลจิสติกส์ ] โดย ธีรศักดิ์ โคทนา นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม . วันนี้แอดมินจะมานำเสนอคำศัพท์ที่นักโลจิสติกส์ต้องรู้นะครับ แอดมินขอเสนอคำว่า "DIFOT" (ไดฟอต) ซึ่งชื่อเต็มก็คือ DIFOT (Delivery In Full On Time) . Credit รูปภาพ : Business photo created by rawpixel.com - www.freepik.com . ทำไมต้อง DIFOT ? . โมเดลธุรกิจในแต่ละยุคสมัยไม่เหมือนกัน ในอดีตเราจะเห็นได้ว่าธุรกิจที่สามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก ธุรกิจที่มีขนาดหรือกำลังการผลิตที่สูง มีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำ(จากการผลิตทีละมากๆ) จะเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในโมเดลธุรกิจในอดีต แต่ปัจจุบันการแข่งในโลกธุรกิจยุคนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป จะเห็นได้ว่าใครไวกว่าได้เปรียบ ใครตรงเวลาได้เปรียบ เราจะเห็นผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่เป็น Start up มากมายเกิดขึ้นในยุคนี้ เพื่อตอบสนองการส่งมอบสินค้าของธุรกิจต่างๆ ตัวอย่างที่เราเห็นก็ไม่ใกล้ไม่ไกล เช่น ในการซื้อของออนไลน์ แม้กระทั่งการสั่งอาหารที่อยู่ใกล้ตัวเราในชีวิตประจำวัน จะเห็นว่าถ้าเทียบกับอดีตที่ต้องรอการคอนเฟิร์มออเดอร์นั้นจะใช้เวลาหรือการตรวจสอบต่างกับปัจจุบันมาก ในตอนนี้ก็แทบจะไม่ถึง 10 นาที ในการคอนเฟิร์มออเดอร์ด้วยซ้ำ ใครซื้อของออนไลน์หรือสั่งของจะทราบดีว่าถ้าเรารอสินค้านานเราก็จะมีตัวเลือกเจ้าอื่นให้เราเลือกมากมาย ดังนั้นการที่เราจะพัฒนาการตอบสนองความต้องการและให้เกิดความน่าเชื่อถือจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องกำหนดตัวชี้วัดให้กับกิจกรรมการส่งมอบ . มาดูการคิดตัวชี้วัดของเราดีกว่า "DIFOT" (ไดฟอต) คือตัวชี้วัดที่เป็นมิติแสดงความน่าเชื่อถือในการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และตรงเวลา ตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงไว้ตั้งแต่ยืนยันคำสั่งซื้อจนกระทั่งได้รับสินค้า มีสูตรการคำนวณดังนี้ กำหนด X = จำนวนคำสั่งซื้อทั้งหมดที่ได้ทำการส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า Y = จำนวนคำสั่งซื้อทั้งหมดที่ได้ทำการส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าครบตามจำนวนรายการในใบสั่งซื้อ Z = จำนวนคำสั่งซื้อทั้งหมดที่ได้ทำการส่งมอบสินค้าได้ตรงเวลาที่กำหนดให้แก่ลูกค้า . สูตร . ตัวอย่าง จากการสรุปยอดขายใน 2561 ที่ผ่านมา บริษัทผลิตอาหารแปรรูปแห่งหนึ่ง ได้จัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าตามจำนวนรายการใบสั่งซื้อ (Order) ทั้งหมด 6,340 คำสั่งซื้อ และได้ดำเนินการจัดส่งสินค้าได้ครบตามจำนวนรายการที่ลูกค้าต้องการ 6,280 คำสั่งซื้อ และจากจำนวนการสั่งซื้อทั้งหมด บริษัทสามารถส่งมอบสินค้าให้ลูกค้ได้ตรงเวลาตามเงื่อนไขการสั่งซื้อ 6,300 คำสั่งซื้อ อัตราความสามารถของการส่งมอบสินค้า(DIFOT) สามารถคำนวณได้ดังนี้ . วิเคราะห์ตัวแปร - จัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าตามจำนวนรายการใบสั่งซื้อ (Order) ทั้งหมด 6,340 คำสั่งซื้อ = X * สังเกตว่าเราจะนับเฉพาะ Order ที่ “ส่งมอบถึงลูกค้าแล้วเท่านั้น” จริงๆ บริษัทอาจจะมี Order 10,000 คำสั่งซื้อ แต่การวัด DIFOT นั้นไม่ต้องไปคิด Order ที่ยังไม่ถึงลูกค้า - ดำเนินการจัดส่งสินค้าได้ครบตามจำนวนรายการที่ลูกค้าต้องการ 6,280 คำสั่งซื้อ = Y *ครบตามจำนวนหมายถึง 1 คำสั่งซื้อ อาจจะมี 10 รายการ ต่อ 1 คำสั่งซื้อ ดังนั้น ถ้าหากไม่สามารถส่งรายการใดรายการหนึ่งใน Order ไม่ถือว่าครบ ดังนั้นจาก 6,340 คำสั่งซื้อ จะมีกี่รายการไม่รู้แหละ แต่ที่ส่งครบตามคำสั่งซื้อมี 6,280 คำสั่งซื้อ - บริษัทสามารถส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ตรงเวลาตามเงื่อนไขการสั่งซื้อ 6,300 คำสั่งซื้อ = Z คือ จาก Order ที่แทนค่าด้วย X เราส่งได้ตรงตามเวลาที่ลูกค้ากำหนด 6,300 คำสั่งซื้อ . คำนวณได้ดังนี้ . = 98.43% . สรุปได้ว่าอัตราความสามารถของการส่งมอบสินค้า(DIFOT) ของบริษัทอยู่ที่ 98.43% . จะเห็นได้ว่าการมีตัวชี้วัดว่าความสำเร็จในการตอบสนองมิติความน่าเชื่อถือ สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลข เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับปรุงเติมเต็มให้กับลูกค้าเราพึงพอใจได้ บริษัทที่จ้าง Supplier เป็นผู้ขนส่งสินค้าจากโรงงานอาจจะนำไปประยุกต์เพื่อประเมิน Supplier หรือจะเอาไว้เป็น KPI สำหรับองค์กรก็ได้ เพราะตามระบบมาตรฐานต่างๆ เช่น ISO ก็ให้องค์กรมีตัวชี้วัดในทุกๆ กิจกรรม แอดมินอยากฝาก "DIFOT" (ไดฟอต) ไว้ให้สถานประกอบการพิจารณาด้วยนะครับ . ========================= . มีอีกตัวชี้วัดที่น่าสนใจเป็นขั้นสูงของ DIFOT คือ อัตราการเติมเต็มคำสั่งซื้อสมบูรณ์ (Perfect Order Fulfillment Rate) เป็นการวัดความสามารถในการส่งมอบสินค้าที่ถูกต้อง ครบจำนวนที่สั่ง ถูกสถานที่ ตลอดจนเอกสารที่ส่งมอบถูกต้องตามคำสั่งซื้อ และตรงตามเงื่อนไข จะเห็นได้ว่ามีตัวแปรเพิ่มจาก DIFOT อยู่พอสมควร ไว้แอดมินจะมาสอนคำนวณ และเปรียบเทียบในครั้งหน้านะครับ
24 ก.พ. 2021
คู่มือการประเมินประสิทธิภาพ และศักยภาพ การจัการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน (ฉบับล่าสุด)
. *เอกสารดาวน์โหลดฟรีของทางหน่วยงานราชการ ถูกคุ้มครองตามพระราชบัญญัติทรัพย์สินทางปัญญาฯ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามผู้ดาวน์โหลดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือแสวงหาผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ อันถือเป็นการกระทำความผิดทางอาญา . . คลิกที่นี่เพื่อ ดาวน์โหลดไฟล์
16 ก.พ. 2021
ขอเชิญสถานประกอบการเข้ารับการอบรมออนไลน์ เรื่อง "แนวทางการเสริมสร้างความร่วมมือด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (Supply Chain Roadmap Networking) ด้วยแบบจำลอง SCOR Model"
ขอเชิญสถานประกอบการเข้ารับการอบรมออนไลน์ เรื่อง "แนวทางการเสริมสร้างความร่วมมือด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (Supply Chain Roadmap Networking) ด้วยแบบจำลอง SCOR Model" . . รับสมัคร ฟรี!! ไม่มีค่าใช้จ่าย . . ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 08.30 - 16.30 น. ผ่าน Facebook Live/ระบบ zoom โดย อ.สิริพงศ์ จึงถาวรรณ, MBA, BEng, ACPE, CSCP, EPPM บริษัท ทำน้อยได้มาก จำกััด . ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 08.30 - 16.30 น. ผ่าน Facebook Live/ระบบ zoom โดย ดร.พงษ์เทพ ภูเดช มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา . วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้สถานประกอบการเข้าใจความสำคัญของการสร้างความร่วมมือและเครือข่ายโซ่อุปทาน 2. เพื่อให้สถานประกอบการจัดทำโครงสร้างเครือข่ายโซ่อุปทาน จัดทำโครงการปรับปรุง (Action Plan Project) และสามารถนำไปใช้ประโยชน์กำหนดทิศทาง เป้าหมาย ตัวชี้วัดและกลยุทธ์ของธุรกิจได้ 3. สถานประกอบการสามารถวางแผนการจัดการสินค้าในโซ่อุปทาน และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ได้ . . สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม - คุณภาสันต์ วิชิตอมรพันธ์ - คุณวรรธนะ เรืองสำเร็จ โทร. 02 202 4510, 063 213 2097 E-mail: promote.dol@gmail.com
18 ม.ค. 2021
ขอเชิญสถานประกอบการ ในพื้นที่ 5 จังหวัด สมัครเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาเปิดโครงการ Workshop สัญจรขยายผลความรู้ ภาคอุตสาหกรรมสู่ภูมิภาค ประจำปี 2564
กิจกรรมสัมมนาเปิดโครงการ "Workshop สัญจร ขยายความรู้ด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ภาคอุตสาหกรรมสู่ภูมิภาค" ประจำปี 2564 . . สมัครเข้าร่วมโครงการ: ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป . . พื้นที่จัดกิจกรรม 5 จังหวัด (เรียงลำดับทีละจังหวัด โดยเริ่มจาก จ.นครพนม) - เชียงใหม่ (ดำเนินการแล้ว) - นครพนม (ปลายเดือน ก.พ.64 นี้) - กระบี่ - ระนอง - อยุธยา *หมายเหตุ: เนื่องจากสถานปัจจุบัน เวลาและสถานที่จัดงานจะแจ้งให้ทราบภายหลัง สถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดข้างต้น สามารถแจ้งความประสงค์ลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนได้ กลุ่มเป้าหมายโครงการ 1. อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร 2. เกษตรอุตสาหกรรม 3. ปิโตรเคมีและพลาสติกส์ 4. สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 5. ยางและผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งที่ SMEs จะได้รับ หลังสมัครเข้าร่วมในงานเปิดโครงการ - อบรมความรู้ตัวชี้วัด สร้างกลยุทธ์ เชิงปฏิบัติจริง ในการประยุกต์ IT Logistics ที่ใช้งานได้จริง เป็นเวลา 3 วัน - ผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้า เข้าช่วยวิเคราะห์ปัญหาหน้างานจริง ติดตั้ง IT เพื่อใช้งานจริง ณ สถานประกอบการจริง และวัดผลได้จริง เป็นเวลา 3 วัน โดยมีเป้าหมายเป็นการลดต้นทุนให้สถานประกอบการอย่างน้อย 10% - สถานประกอบการที่มีผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยม เกิดผลลัพธ์ จะได้รับการเชิดชูเป็นแบบอย่าง ในรูปแบบสื่อวิดิทัศน์ ในราย Best Practice ของโครงการ . . . . สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 02 202 4540 กลุ่มสารสนเทศโลจิสติกส์ คุณอนพัทย์(ต้อง) 084 644 6768 คุณภาณุพงศ์(ไผ่) 087 304 7573
18 ม.ค. 2021
กองโลจิสติกส์ ขอเชิญผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม สมัครเข้ารับการคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ประจำปี 2564
ขอเชิญผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม สมัครเขา้รับการคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ประจำปี 2564 รับสมัคร วันนี้ - 28 กุมภาพันธ์ 2564 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คุณภาสันต์ คุณวรรธนะ โทร. 02 202 4510, 063 213 2097 E-mail: logistics.award@gmail.com
13 ม.ค. 2021
กองโลจิสติกส์ ขอเชิญผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม สมัครเข้ารับการคัดเลือก รางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประจำปี 2564
ขอเชิญผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม สมัครเขา้รับการคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประเภทการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ประจำปี 2564 รับสมัคร วันนี้ - 28 กุมภาพันธ์ 2564 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คุณภาสันต์ คุณวรรธนะ โทร. 02 202 4510, 063 213 2097 E-mail: logistics.award@gmail.com
13 ม.ค. 2021
กองโลจิสติกส์ ดำเนินกิจกรรม Public Workshop ด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน พื้นที่ จ.เชียงใหม่
วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563 กลุ่มสารสนเทศโลจิสติกส์ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ติดตามการดำเนินกิจกรรม Public Workshop ด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้ประกอบการให้ความสนใจเข้าร่วม 10 กิจการ มีเนื้อหาการบรรยายความรู้ การปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เพื่อเป็นการปูพื้นฐานความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการ ก่อนเข้าสู่การประยุกต์ใช้ IT Logistics และเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประกอบการในต่างพื้นที่ ได้มีการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live วิทยากร: 1. อ.รัชกฤษ คล่องพยาบาล 2. อ.พลภัทร บริรักษ์กุล ณ ห้องวิมาน โรงแรมดิเอ็มเพลส เชียงใหม่
28 ธ.ค. 2020
กองโลจิสติกส์ จัดกิจกรรมสัมมนา Workshop สัญจรขยายผลความรู้ด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ภาคอุตสาหกรรมภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถบริหารจัดการโลจิสติกส์โซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม ปีงบประมาณ 2564 จังหวัดเชียงใหม่
วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563 กลุ่มสารสนเทศโลจิสติกส์ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดกิจกรรมสัมมนา Workshopสัญจรขยายผลความรู้ด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ภาคอุตสาหกรรมภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถบริหารจัดการโลจิสติกส์โซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม ปีงบประมาณ 2564 จังหวัดเชียงใหม่ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และกระบวนการวางแผนดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งมุ่งเน้นการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโลจิสติกส์ เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิที่ประสบความสำเร็จด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ วิทยากร: 1. ดร.ณรงค์ ตนานุวัฒน์ หัวข้อ "การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านโลจิสติกส์ พลิกฟื้นธุรกิจพิชิตโควิด-19" 2. อ.รัชกฤษ คล่องพยาบาล หัวข้อ "เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส ด้วยการจัดการโลจิสติกส์" ณ โรงแรมดิเอ็มเพลส (ศูนย์ประชุมนานาชาติ ดิเอ็มเพลส ห้องประชุมเชียงใหม่)
21 ธ.ค. 2020