IAR (Inventory Accuracy Rate)


17 มี.ค. 2564    admin    24

[Like สาระโลจิสติกส์ ]

โดย ธีรศักดิ์ โคทนา นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ

กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

.

สวัสดีแฟนเพจทุกท่านเช่นเคยนะครับ วันนี้แอดมินก็จะมานำเสนอตัวชี้วัดที่วัดแสนง่าย หลายๆ องค์กรน่าจะทำกันอยู่แล้ว แต่ว่าทำแล้วได้ข้อมูลอะไรจากตัวชี้วัดนี้บ้างละ องค์กรได้นำข้อมูลไปใช้อะไรบ้าง ตัวชี้วัดที่จะบอกก็คือ IAR (Inventory Accuracy Rate) หรือ อัตราความแม่นยำของสินค้าคงคลัง ถ้าในภาษาอุตสาหกรรมเราๆ ก็คือ สต๊อกจริง เทียบสต๊อกในระบบ นั้นแหละครับ IAR ยังเป็นตัวชี้วัดที่แสดงความน่าเชื่อถือของการบริหารจัดการสินค้าคงคลังในคลังสินค้า โดยการเปรียบเทียบจำนวนสินค้าที่บันทึกไว้ หรืออยู่ในระบบ เทียบกับสินค้าที่นับได้จริง และแน่นอนถ้าหาก IAR สูงมากๆ ก็เท่ากับว่าปัญหาเช่น การสั่งซื้อซ้ำซ้อน ปัญหาของขาด ก็จะน้อยลงไปด้วย หลายๆ องค์กรนำ IAR ไปเป็น KPI ชี้วัดฝ่ายคงคลัง เนื่องจาก IAR จะครอบคลุมฟังก์ชั่นการทำงานการทำงานของแผนกคงคลัง เช่น การรับเข้า การเบิกออก นับสต๊อก การบันทึกข้อมูล ฟังก์ชั่นการทำงานเหล่านี้ล้วนเป็นตัวแปร IAR ทั้งสิ้น

.

.

IAR (Inventory Accuracy Rate) นั้นสำคัญไฉน ?

.

อย่างที่บอกไปว่า IAR เป็นตัวชี้วัดที่วัดง่ายมากๆ และทำกันแทบจะทุกสถานประกอบการตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ แต่!!! ในขณะเดียวกันเจ้าตัวชี้วัด IAR นี้ก็ทำให้สถานประกอบการปวดหัวมากๆ เหมือนกัน เนื่องจากมีสถานประกอบการ SMEs จำนวนมากในประเทศไทยที่มีค่า %IAR เฉลี่ยต่ำกว่า 80% และทุกสถานประกอบการล้วนอยากจะให้ค่า IAR ของตัวเองอยู่ที่ 100% ทั้งนั้น (มีนะครับ ไม่ใช่ว่าไม่มีสถานประกอบการที่มีค่า IAR 100%)

. 

ถ้าหากองค์กรท่านไม่มีการวัด IAR เลยนั้น เท่ากับว่าท่านประกอบธุรกิจแบบเสี่ยง อะไรนะ!? แค่ไม่วัด IAR เนี่ยะนะเสี่ยง!? ใช่ครับ ถ้าหากท่านไม่กำหนด IAR ท่านจะไม่ทราบเลยว่าสินค้าหรือวัตถุดิบของท่านมีจำนวนที่แท้จริงเท่าไหร่ สามารถใช้งานจริงได้เท่าไหร่ มันจะเป็นต้นเหตุของปัญหาหลายๆ อย่างไม่ว่าจะเป็น สต๊อกมากเกิน สต๊อกขาด/ของขาดผลิต รอคอย(รอของ) ล่าช้า(ส่งผลมาจากรอของ) กระบวนการที่เพิ่มมากขึ้นเพราะจะใช้ของทีก็ไปตรวจที ถ้าวัตถุดิบมีปัญหาหรือผิดพลาดก็ไม่มีทดแทน เป็นต้นย้ำนะครับว่าเป็นต้น เนื่องจากปัญหายังมีอีกมากและทั้งหมดทั้งมวลนี้จะทำให้เรา “เสียลูกค้า” เป็นไงบ้างครับเสี่ยงหรือยังแค่ไม่วัด IAR ตัวแปรง่ายๆ ที่สำคัญ

 

.

.

มาดูกันดีกว่า IAR เราคำนวณอย่างไร

.

กำหนด

X = จำนวนสินค้าหรือวัตถุดิบที่บันทึกไว้ หรืออยู่ในระบบ

Y = จำนวนสินค้าหรือวัตถุดิบที่นับได้จริง

.           

          สูตร

         

. 

* | Y – X | หมายความว่า ค่าสัมบูรณ์ของ Y – X นะครับ ไม่ว่าจำนวนจะออกมาติดลบ( - ) หรืออะไรยังไงค่าตรงนี้เป็นบวกเสมอ เช่น 25 – 30 = -5 แต่ถ้า | 25 – 30 | = 5 เห็นไหมครับว่าถ้าใส่สัญลักษณ์ค่าสัมบูรณ์เข้าไปตัวเลขจากติดลบ ผลก็จะกลายเป็นบวก เพราะค่าสัมบูรณ์มีไว้บอกระยะห่างของจำนวนเฉยๆ ครับ

.

ตัวอย่าง

ตลอดปี 2563 บริษัทผลิตอาหารได้ตรวจนับจำนวนวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ประจำปี ตามรอบบัญชี ทั้งหมดได้ 3,165 รายการ แต่เปิดดูจากระบบบัญชีสินค้า มีจำนวนทั้งหมด 3,240 รายการ สามารถคำนวณได้ดังนี้

.

.

 

. 

IAR Tip

.

จากโจทย์จะเห็นว่าเป็นการนับจำนวนสินค้าทั้งหมดทั้งหมดทุกยูนิต (ไม่แยก SKU) และจะเห็นได้ว่า ตามรอบบัญชี แสดงว่า 1 ปีนับ 1 ครั้ง ซึ่งถือว่าน้อยมาก แอดมินแนะนำว่าการนับสต๊อกนั้นผู้ประกอบการอย่างน้อยควรแบ่งคลาสด้วย ABC Analysis เพื่อจัดลำดับความสำคัญในการจัดรอบการนับสต๊อก (Cycle Count) และการนับสต๊อกนั้น ควรแบ่งระหว่าง วัตถุดิบ และสินค้าสำเร็จรูป ควรนับเป็น Unit Per SKU ตัวอย่างเช่น วัตถุดิบ หรือ สินค้าประเภท A Class ควรนับทุกๆ 1 เดือน B Class ทุกๆ 3 เดือน และ C Class ทุกๆ 6 เดือน เป็นต้น รวมถึงการกำหนด KPI ให้เหมาะสม เช่น Class A อาจกำหนด IAR ไว้ 95% - 100% เพราะมีความสำคัญสูงขาดไม่ได้ ใช้เวลาส่งนาน Class B 90 – 95% Class C ไม่ต่ำกว่า 85% เป็นต้น และถ้าหากทำได้ตาม KPI ก็ค่อยปรับ % IAR ให้สูงขึ้น หรือถ้าหากไม่ถึงตาม KPI ให้ประชุมหาแนวทางและสาเหตุให้ค่า IAR ได้ตาม KPI ตัวอย่างที่แอดมินยกมานั้นเพียงเพื่อให้เห็นภาพในการใช้งาน ผู้ประกอบการอาจมี %IAR และ KPI ที่เหมาะสมองค์กรของท่านก็ให้ประยุกต์ได้ตามความเหมาะสมเลยครับ

.

. 

=========================

.

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ IAR ตัวชี้วัดง่ายๆ ที่สำคัญมากๆ วันนี้แอดมินก็ขอมาเกริ่นเรื่อง IAR ให้รู้จักกันก่อน ส่วนเรื่องเชิงลึกการปรับปรุงพัฒนา %IAR ให้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร ไว้ Like สาระโลจิสติกส์ จะมาแชร์ข้อมูลให้ทุกท่านอีกครั้งนะครับ