[Like สาระโลจิสติกส์ ]
โดย ธีรศักดิ์ โคทนา นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
.
วันนี้แอดมินจะมานำเสนอคำศัพท์ที่นักโลจิสติกส์ต้องรู้นะครับ แอดมินขอเสนอคำว่า "DIFOT" (ไดฟอต) ซึ่งชื่อเต็มก็คือ DIFOT (Delivery In Full On Time)
.
Credit รูปภาพ : Business photo created by rawpixel.com - www.freepik.com
.
ทำไมต้อง DIFOT ?
.
โมเดลธุรกิจในแต่ละยุคสมัยไม่เหมือนกัน ในอดีตเราจะเห็นได้ว่าธุรกิจที่สามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก ธุรกิจที่มีขนาดหรือกำลังการผลิตที่สูง มีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำ(จากการผลิตทีละมากๆ) จะเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในโมเดลธุรกิจในอดีต แต่ปัจจุบันการแข่งในโลกธุรกิจยุคนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป จะเห็นได้ว่าใครไวกว่าได้เปรียบ ใครตรงเวลาได้เปรียบ เราจะเห็นผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่เป็น Start up มากมายเกิดขึ้นในยุคนี้ เพื่อตอบสนองการส่งมอบสินค้าของธุรกิจต่างๆ ตัวอย่างที่เราเห็นก็ไม่ใกล้ไม่ไกล เช่น ในการซื้อของออนไลน์ แม้กระทั่งการสั่งอาหารที่อยู่ใกล้ตัวเราในชีวิตประจำวัน จะเห็นว่าถ้าเทียบกับอดีตที่ต้องรอการคอนเฟิร์มออเดอร์นั้นจะใช้เวลาหรือการตรวจสอบต่างกับปัจจุบันมาก ในตอนนี้ก็แทบจะไม่ถึง 10 นาที ในการคอนเฟิร์มออเดอร์ด้วยซ้ำ ใครซื้อของออนไลน์หรือสั่งของจะทราบดีว่าถ้าเรารอสินค้านานเราก็จะมีตัวเลือกเจ้าอื่นให้เราเลือกมากมาย ดังนั้นการที่เราจะพัฒนาการตอบสนองความต้องการและให้เกิดความน่าเชื่อถือจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องกำหนดตัวชี้วัดให้กับกิจกรรมการส่งมอบ
.
มาดูการคิดตัวชี้วัดของเราดีกว่า "DIFOT" (ไดฟอต) คือตัวชี้วัดที่เป็นมิติแสดงความน่าเชื่อถือในการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และตรงเวลา ตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงไว้ตั้งแต่ยืนยันคำสั่งซื้อจนกระทั่งได้รับสินค้า มีสูตรการคำนวณดังนี้
กำหนด
X = จำนวนคำสั่งซื้อทั้งหมดที่ได้ทำการส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า
Y = จำนวนคำสั่งซื้อทั้งหมดที่ได้ทำการส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าครบตามจำนวนรายการในใบสั่งซื้อ
Z = จำนวนคำสั่งซื้อทั้งหมดที่ได้ทำการส่งมอบสินค้าได้ตรงเวลาที่กำหนดให้แก่ลูกค้า
.
สูตร
.
ตัวอย่าง
จากการสรุปยอดขายใน 2561 ที่ผ่านมา บริษัทผลิตอาหารแปรรูปแห่งหนึ่ง ได้จัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าตามจำนวนรายการใบสั่งซื้อ (Order) ทั้งหมด 6,340 คำสั่งซื้อ และได้ดำเนินการจัดส่งสินค้าได้ครบตามจำนวนรายการที่ลูกค้าต้องการ 6,280 คำสั่งซื้อ และจากจำนวนการสั่งซื้อทั้งหมด บริษัทสามารถส่งมอบสินค้าให้ลูกค้ได้ตรงเวลาตามเงื่อนไขการสั่งซื้อ 6,300 คำสั่งซื้อ อัตราความสามารถของการส่งมอบสินค้า(DIFOT) สามารถคำนวณได้ดังนี้
.
วิเคราะห์ตัวแปร
- จัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าตามจำนวนรายการใบสั่งซื้อ (Order) ทั้งหมด 6,340 คำสั่งซื้อ = X
* สังเกตว่าเราจะนับเฉพาะ Order ที่ “ส่งมอบถึงลูกค้าแล้วเท่านั้น” จริงๆ บริษัทอาจจะมี Order 10,000 คำสั่งซื้อ แต่การวัด DIFOT นั้นไม่ต้องไปคิด Order ที่ยังไม่ถึงลูกค้า
- ดำเนินการจัดส่งสินค้าได้ครบตามจำนวนรายการที่ลูกค้าต้องการ 6,280 คำสั่งซื้อ = Y
*ครบตามจำนวนหมายถึง 1 คำสั่งซื้อ อาจจะมี 10 รายการ ต่อ 1 คำสั่งซื้อ ดังนั้น ถ้าหากไม่สามารถส่งรายการใดรายการหนึ่งใน Order ไม่ถือว่าครบ ดังนั้นจาก 6,340 คำสั่งซื้อ จะมีกี่รายการไม่รู้แหละ แต่ที่ส่งครบตามคำสั่งซื้อมี 6,280 คำสั่งซื้อ
- บริษัทสามารถส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ตรงเวลาตามเงื่อนไขการสั่งซื้อ 6,300 คำสั่งซื้อ = Z
คือ จาก Order ที่แทนค่าด้วย X เราส่งได้ตรงตามเวลาที่ลูกค้ากำหนด 6,300 คำสั่งซื้อ
.
คำนวณได้ดังนี้
.
= 98.43%
.
สรุปได้ว่าอัตราความสามารถของการส่งมอบสินค้า(DIFOT) ของบริษัทอยู่ที่ 98.43%
.
จะเห็นได้ว่าการมีตัวชี้วัดว่าความสำเร็จในการตอบสนองมิติความน่าเชื่อถือ สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลข เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับปรุงเติมเต็มให้กับลูกค้าเราพึงพอใจได้ บริษัทที่จ้าง Supplier เป็นผู้ขนส่งสินค้าจากโรงงานอาจจะนำไปประยุกต์เพื่อประเมิน Supplier หรือจะเอาไว้เป็น KPI สำหรับองค์กรก็ได้ เพราะตามระบบมาตรฐานต่างๆ เช่น ISO ก็ให้องค์กรมีตัวชี้วัดในทุกๆ กิจกรรม แอดมินอยากฝาก "DIFOT" (ไดฟอต) ไว้ให้สถานประกอบการพิจารณาด้วยนะครับ
.
=========================
.
มีอีกตัวชี้วัดที่น่าสนใจเป็นขั้นสูงของ DIFOT คือ อัตราการเติมเต็มคำสั่งซื้อสมบูรณ์ (Perfect Order Fulfillment Rate) เป็นการวัดความสามารถในการส่งมอบสินค้าที่ถูกต้อง ครบจำนวนที่สั่ง ถูกสถานที่ ตลอดจนเอกสารที่ส่งมอบถูกต้องตามคำสั่งซื้อ และตรงตามเงื่อนไข จะเห็นได้ว่ามีตัวแปรเพิ่มจาก DIFOT อยู่พอสมควร ไว้แอดมินจะมาสอนคำนวณ และเปรียบเทียบในครั้งหน้านะครับ