S-DIFOT (Supplier - Delivery In Full On Time)


03 มี.ค. 2021    admin    68

[Like สาระโลจิสติกส์ ]

โดย ภาณุพงศ์ คำผาด วิศวกรปฏิบัติการ

กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

.

สวัสดีแฟนเพจกองโลจิสติกส์ทุกท่านนะครับ วันนี้แอดมินก็จะมานำเสนอคำว่า “S-DIFOT” นิยมเรียกกันในวงการว่า “เอส-ไดฟอต” เนื่องจากครั้งที่แล้วเราได้พูดถึง DIFOT ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับองค์กรเราไปสู่ลูกค้า วันนี้เรามาพูดถึงกระบวนการจาก Supplier มาถึงเราบ้างดีกว่า

.

S-DIFOT คืออะไร แล้วทำไมต้องรู้จัก ?

.

“S-DIFOT” (Supplier Delivery In-Full and On Time Rate) คือ อัตราความสามารถของการจัดส่งสินค้าของซัพพลายเออร์นั้นเอง SDIFOT นี้จะวัดคำสั่งซื้อ หรือใบ PO (Purchase Order) ทั้งหมดที่เราเปิดไปให้กับ Supplier แล้ววัดว่า Supplier นั้นส่งของให้เราครบไหม ตรงเวลาหรือไม่ ซึ่งเราอาจจะเอาตัวชี้วัดไปตั้งเป็น KPI (หรือจะเป็นตัวชี้วัดอะไรก็แล้วแต่นะครับ) เพื่อประเมิน Supplier จัดลำดับว่า Supplier รายใดควรจะเป็น Supplier หลัก รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆ ถ้าหากค่า S-DIFOT ต่ำๆ แสดงว่ากระบวนการจัดส่งสินค้าจาก Supplier มายังผู้ผลิตมีปัญหา ตัวอย่างปัญหาเช่น ของส่งมาไม่ครบตาม PO ที่เปิดไป หรือของที่ส่งมาไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ใน PO เกิดจากการวางแผนไม่เหมาะสม การกำหนด Leadtime ไม่สมดุล การสื่อสารกับ Supplier ไม่ชัดเจน เป็นต้น ถ้าหากเราวัด S-DIFOT ก็จะสามารถทำให้เราวิเคราะห์ข้อมูลได้ง่ายขึ้นเป็นตัวเลขที่ชัดเจน(ไม่ได้ใช้ความรู้สึกในการวัด) หรืออาจจะนำไปประยุกต์ในการให้คะแนน Supplier ในกรณีที่ใช้ AHP (Analytic Hierarchy Process) เมื่อมีการคัดเลือกลำดับ Supplier หรือ จะนำไปตัดเกรด Supplier ก็สามารถทำได้

. 

การวัด S-DIFOT มักจะใช้หลักๆ 2 แบบ ได้แก่

.

1. Internal Supply Chain เป็นการที่ผู้บริหารที่ต้องการวัดประสิทธิภาพการทำงานของฝ่ายจัดซื้อร่วมกับ Supplier หรือต้องการทราบปัญหาเกี่ยวกับการจัดซื้อในด้านเวลา และด้านความครบถ้วน โดยรวมของฝ่ายจัดซื้อ

ตัวอย่างการใช้ : ผู้จัดการบริษัทต้องการวัดประสิทธิภาพโดยรวมของฝ่ายจัดซื้อโดยตั้ง KPI S-DIFOT ของฝ่ายจัดซื้ออยู่ที่ 95% โดยคิดจากจำนวนปริมาณใบ PO ทั้งหมดที่ออกจากฝ่ายจัดซื้อ เพื่อต้องการทราบปัญหาว่าการทำงานระหว่างฝ่ายจัดซื้อและ Supplier ตอบสนอง KPI ในด้านเวลา และด้านความครบถ้วน เป็นต้น

.

2. Upstream Supply Chain เป็นการที่ฝ่ายจัดซื้อต้องวัดประสิทธิภาพของ Supplier แต่ละรายว่าเหมาะสมหรือตรงความต้องการขององค์กรหรือไม่

ตัวอย่างการใช้ : ฝ่ายจัดซื้อต้องการวัดประสิทธิภาพ Supplier โดยตั้ง KPI  S-DIFOT ให้ Supplier แต่ละรายเพื่อต้องการจัดลำดับและตัดเกรด Supplier

95 – 100 % เกรด A  

90 – 94 % เกรด B

85 – 89 % เกรด C

และต่ำกว่า 85% ต้องพิจารณา Supplier รายนั้นๆ เป็นต้น

.

.

มาดูการคิดตัวชี้วัดของเราดีกว่า "S-DIFOT" (เอส-ไดฟอต) การคำนวณมีสูตรดังนี้

.

กำหนด

X = จำนวนใบสั่งซื้อ (Purchase Order) ทั้งหมดที่บริษัทเราส่งให้แก่ Supplier

Y = จำนวนใบสั่งซื้อ (Purchase Order) ทั้งหมดที่ Supplier ได้ทำการส่งมอบสินค้าให้เราครบตามจำนวน

Z = จำนวนใบสั่งซื้อ (Purchase Order) ทั้งหมดที่ Supplier ได้ทำการส่งมอบสินค้าให้เราครบตามเวลา (ต้องตรงเวลาด้วยนะ ห้ามก่อนกำหนด เพราะถ้าการส่งมาก่อนกำหนดนั้นหมายถึงเราจะต้องถือครอง Inventory นานกว่าปกติ หรือเรียกง่ายๆ ก็ทำให้สต๊อกเราเพิ่มนั้นเอง)

.           

          สูตร

         

. 

ตัวอย่าง

ตลอดปี 2563 บริษัทผลิตอาหารแปรรูปแห่งหนึ่ง แผนกจัดซื้อได้ออกใบสั่งซื้อวัตถุดิบและส่งไปยังซัพพลายเออร์ 001 ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ เกรด A จำนวน 3,210 ใบสั่งซื้อ บริษัทได้รับสินค้าครบตามจำนวนที่สั่งซื้อ 3,100 ใบสั่งซื้อ และได้รับสินค้าตรงตามเวลาที่กำหนด จำนวน 3,000 ใบสั่งซื้อ

.

แผนกจัดซื้อได้ออกใบสั่งซื้อวัตถุดิบและส่งไปยังซัพพลายเออร์ 002 ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ เกรด B จำนวน 2500 ใบสั่งซื้อ บริษัทได้รับสินค้าครบตามจำนวนที่สั่งซื้อ 2,490 ใบสั่งซื้อ และได้รับสินค้าตรงตามเวลาที่กำหนด จำนวน 2,495 ใบสั่งซื้อ

.

ฝ่ายจัดซื้อต้องการวัดประสิทธิภาพ Supplier โดยตั้ง KPI  S-DIFOT ให้ Supplier แต่ละรายเพื่อต้องการจัดลำดับและตัดเกรด Supplier ดังนี้

95 – 100 % เกรด A

90 – 94 % เกรด B

85 – 89 % เกรด C

อัตราความสามารถของการจัดส่งสินค้าของชัพพลายเออร์ สามารถคำนวณได้ ดังนี้

. 

วิเคราะห์ตัวแปร

.

- บริษัทเปิด PO ไปหาซัพพลายเออร์ = X

(ก็คือใบ PO ทั้งหมดที่ส่งให้แก่ Supplier เจ้านี้แหละ ถ้าจะวัด Supplier ต่อเจ้าให้คิดเฉพาะเจ้า ถ้าจะวัดเพื่อดูความเหมาะสมกระบวนการสั่งซื้อโดยรวม ถ้าเราประสบปัญหาเรื่องวิเคราะห์ Leadtime หรือ Stock บริษัทเรา ก็ให้คิดทั้งหมดได้ อยู่ที่มุมมองคนจะเอาข้อมูลวิเคราะห์)

.

- บริษัทได้รับสินค้าครบตามจำนวนที่สั่งซื้อ = Y

(ถ้าใน 1 PO มี 10 รายการ ถ้าได้รับแค่ 9 รายการ หรือจำนวนไม่ครบ ก็ไม่นับว่า PO นั้นได้รับของครบนะครับ ครบคือต้องครบจริงๆ และครบทั้งหมด)

.

- บริษัทได้รับสินค้าตรงตามเวลาที่กำหนด = Z

(เหมือนกัน ถ้า 1 PO มี 10 รายการสินค้าก็ต้องตรงเวลาทั้ง 10 รายการ หากช้ารายการใดรายการหนึ่ง หรือมาก่อนเวลา ไม่ถือว่า PO นั้นตรงเวลา)

 

. 

คำนวณได้ดังนี้

. 

ซัพพลายเออร์ 001

 

. 

ซัพพลายเออร์ 002

. 

จะเห็นได้ว่า S-DIFOT นั้นสามารถนำมาประเมิน Supplier ได้ ซึ่งเป็นอีกตัวชี้วัดที่สามารถทำได้ง่าย และแทบจะทุกองค์กรนั้นมีข้อมูลอยู่แล้ว ดังนั้นผล % ที่ออกมาอาจทำให้ผู้ประกอบการต้องตัดสินใจว่าจะเลือก Supplier รายใดเป็น Supplier หลัก หรืออาจมีเหตุผลอะไรที่ทำให้ Supplier หลักมีคะแนนลดลง ก็ให้พูดคุยปรึกษาหาปัญหาร่วมกันอีกที เนื่องจากการพิจาณา supplier นั้นมีหลายมิติมาก อยู่ที่ว่าองค์กรนั้นจะจับด้านใดเป็นหนักน้ำในการชี้วัด ถ้าตามหลัก 7 R Logistics ได้ระบุไว้ว่า

.

7 Right (7R) Logistics

  1. Right Product : ส่งผลิตภัณฑ์ถูกต้อง
  2. Right Quantity : ส่งผลิตภัณฑ์ในจำนวนที่ถูกต้อง
  3. Right Conviction : ส่งผลิตภัณฑ์ที่ไม่เสียหาย
  4. Right Customer : ส่งของให้ถูกลูกค้า
  5. Right Place : ส่งให้ถูกสถานที่
  6. Right Time : ส่งของให้ทันเวลา
  7. Right Cost : ต้นทุนที่ถูกและถูกต้อง (Right and Cheap)

. 

=========================

.

สุดท้ายนี้อยากฝาก S-DIFOT ให้กับทุกๆ องค์กรได้พิจารณานำมาประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นหนึ่งในอีกหลายๆ ตัวชี้วัดด้านโลจิสติกส์ ไว้แอดมินจะมาแชร์ความรู้ในหัวข้อต่อๆ ไปให้นะครับ