Category
Tags:
กองโลจิสติกส์ ขอเชิญผู้ประกอบการสมัครเข้าโครงการ "ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ" ปี 2565
"โลจิสติกส์ช่วยธุรกิจเปลี่ยนต้นทุนเป็นเงินทุน" ช่วยลด Cost , Leadtime เพิ่ม Service Level , Reliability สถานประกอบการจะได้รับการให้คำปรึกษาแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญ 9 Man-day โดย 1 สถานประกอบการเลือกได้ 1 โครงการ ดังนี้ 1 การบริหารคลังสินค้า รับ 5 กิจการ เริ่มโครงการ เม.ย. 65 2 วางแผนและการพยาการณ์ความต้องการ รับ 5 กิจการ เริ่มโครงการ เม.ย. 65 สถานประกอบการจะได้รับ - การส่งเสริมให้สถานประกอบการมีการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ สถานประกอบการมีต้นทุนด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่เหมาะสม - การพัฒนาให้ผู้ประกอบการและบุคลากรของสถานประกอบการมีทักษะและองค์ความรู้ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือและเทคนิคการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน - การส่งเสริมให้สถานประกอบการมีตัวชี้วัดประสิทธิภาพและศักยภาพด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน สมัครเลย https://forms.gle/P6Cqqdio8iixKje28 กลุ่มส่งเสริมองค์กร กองโลจิสติกส์ (phone)02-430-6875 ต่อ 5
21 ก.พ. 2022
ขอเชิญผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ออนไลน์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรมอย่างมืออาชีพ
ขอเชิญผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ออนไลน์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรมอย่างมืออาชีพ ระหว่างวันที่ 1-14 กันยายน 2564 6 หลักสูตรครบเครื่องเรื่องโลจิสติกส์ พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรมชั้นนำ(สมัครได้มากกว่า 1 หลักสูตร) ✅1. หลักสูตร "Planning"วันที่ 1, 4 กันยายน 2564 โดย อาจารย์จิรภัทร ธนโชติกีรติ✅2. หลักสูตร “Lean Strategy” วันที่ 2-3 กันยายน 2564โดย ดร.สุวัฒน์ จรรยาพูน✅3. หลักสูตร “IT Logistics” วันที่ 6-7 กันยายน 2564 โดย อาจารย์สินชัย บงกชศิริกุล✅4. หลักสูตร “Purchasing” วันที่ 8-9 กันยายน 2564 โดย อาจารย์กมลทิพย์ จันทรมัส✅5. หลักสูตร “Warehousing” วันที่ 10-11 กันยายน 2564 โดย ดร.กันติชา บุญพิไล✅6. หลักสูตร “Inventory” วันที่ 13-14 กันยายน 2564 โดย อาจารย์อภิญญา โรจนพานิช สอบถามเพิ่มเติม โทร 097-219-4544id line 0891548101สมัครเลย คลิก!!shorturl.at/hqJX1
19 ส.ค 2021
บทความเผยแพร่ความรู้ ด้านการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง เรื่อง: การเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนและการควบคุมสินค้าคงคลัง
บทความเผยแพร่ความรู้ ด้านการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง เรื่อง: การเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนและการควบคุมสินค้าคงคลัง ผู้เขียน อ.มงคล พันธุมโกมล ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "การเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการบริหารจัดการสินค้าคงคลังเพื่อการบริหารจัดการโลจิสติกส์" ภายใต้กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ประจำปีงบประมาณ 2564 เมื่อซื้อวัตถุดิบ ชิ้นส่วน บรรจุภัณฑ์ หรือสินค้าสำเร็จรูปเข้ามาถือครองไว้ในระบบของสถานประกอบการเพื่อการผลิต การประกอบ หรือการขาย เป็นจุดเริ่มต้นของระยะเวลาการจัดเก็บวัตถุดิบหรือสินค้าคงคลัง จนกระทั่งวัตถุดิบ ชิ้นส่วน บรรจุภัณฑ์ หรือสินค้าดังกล่าว ถูกนำไปผลิต แปรรูป และขายออกไปจากระบบของสถานประกอบการ จึงสิ้นสุดระยะเวลาการเก็บวัตถุดิบหรือสินค้าคงคลัง ระยะเวลาการจัดเก็บวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง เป็นผลจากการวางแผนและการปฏิบัติงานร่วมกันตลอดกระบวนการโซ่อุปทาน ตั้งแต่การพยากรณ์ความต้องการของตลาด การพยากรณ์ยอดขาย การวางแผนสินค้าคงคลัง การวางแผนการผลิต การวางแผนความต้องการวัตถุดิบ การวางแผนวัตถุดิบคงคลัง และการวางแผนการจัดซื้อวัตถุดิบ อัตราการนำเข้าและการจ่ายออกของวัตถุดิบที่แตกต่างกันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับวัตถุดิบคงคลัง หากอัตราการนำเข้ามามากกว่าการจ่ายออกทำให้ปริมาณการจัดเก็บวัตถุดิบมากขึ้นและมีแนวโน้มของระยะเวลาการจัดเก็บนานขึ้นหากอัตราการนำเข้าน้อยกว่าการจ่ายออกทำให้ปริมาณการจัดเก็บวัตถุดิบน้อยลงและมีแนวโน้มของระยะเวลาการจัดเก็บสั้นลงหรือทำให้วัตถุดิบขาด การวางแผนและการควบคุมระดับของปริมาณวัตถุดิบคงคลังเป็นผลของการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่จัดการนำวัตถุดิบเข้ามาในระบบ(ฝ่ายวางแผนวัตถุดิบและฝ่ายจัดซื้อ) กับหน่วยงานที่นำวัตถุดิบไปใช้งาน (ฝ่ายผลิต) การวางแผนและการควบคุมระดับของปริมาณสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเป็นผลของการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่จัดการผลิตสินค้าสำเร็จรูป (ฝ่ายผลิต) และหน่วยงานที่นำสินค้าสำเร็จรูปออกขาย (ฝ่ายขายและฝ่ายจัดการคำสั่งซื้อจากลูกค้า) การจัดการให้เกิดความสมดุลของระดับวัตถุดิบคงคลังและสินค้าคงคลังทั้งระบบเกิดจากการวางแผนและการควบคุม รวมถึงความสามารถในการปรับเปลี่ยนเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่เป็นไปตามคาดหมาย เพื่อสร้างให้เกิดความสมดุลใหม่ การควบคุมระดับคงคลัง คือ การจัดการให้อยู่ในช่วงระดับที่กำหนดต่ำสุดและสูงสุด (Min-Max) ของวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูปแต่ละชนิด จำเป็นต้องทราบข้อมูลพื้นฐาน 5 ประการ สำหรับการวางแผนและการควบคุม ได้แก่ 1. ข้อมูลระดับคงคลังในปัจจุบัน (Current Inventory) 2. ข้อมูลระดับคงคลังสำรองในอนาคตเพื่อความปลอดภัย(Safety Stock) 3. ข้อมูลระยะเวลานำของการเติมวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูป (Lead Time) 4. ข้อมูลพยากรณ์การใช้หรือการขาย (Sales Forecast) และ 5. ข้อมูลปริมาณการเติมวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูปในแต่ละครั้ง (Order Quantity) ผู้ที่ทำหน้าที่จัดทำแผนและควบคุมระดับคงคลังควรกำหนดความถี่ของการวางแผนและการติดตามให้เหมาะสมกับรอบการเติมวัตถุดิบหรือสินค้าแต่ละชนิด ใช้การคำนวณ Re-Order Point มาวิเคราะห์และเตรียมการสำหรับจังหวะการเติมวัตถุดิบหรือสินค้าในจังหวะที่เหมาะสมเพื่อให้ระดับคงคลังอยู่ในระดับเป้าหมายสอดคล้องกับตัวแปรที่ถูกระบุไว้ในแผน การออกแบบตารางคำนวณ Re-Order Point โดยการเปลี่ยนมุมมองจากการติดตามระดับสินค้าเมื่อถึงระดับที่ต้องสั่งซื้อมาเป็นมุมมองของวันที่ที่ต้องสั่งซี้อโดยตารางคำนวณจะแปลงระดับสินค้าคงคลังให้เป็นวันที่ที่ต้องดำเนินการตามตัวแปรที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า ทำให้เข้าใจว่ายขึ้นสำหรับผู้วางแผนและผู้เกี่ยวข้อง การพัฒนาตารางคำนวณ Re-Order Point ใน MS Excel จะช่วยให้ผู้วางแผนสามารถจัดลำดับความสำคัญของสินค้าที่ต้องนำเข้าหรือผลิตเพื่อเติมสินค้าให้อยู่ในระดับเป้าหมายอยู่เสมอ และง่ายต่อการติดตามตรวจสอบสินค้าคงคลังอยู่เป็นประจำ ตัวอย่างตารางคำนวณ Re-Order Point ของสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ การพัฒนาตารางคำนวณ Re-Order Point จะต้องมีความเข้าใจในข้อมูลที่เป็นตัวแปรสำคัญสำหรับการคำนวณ หากมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้การวางแผนมีโอกาสผิดพลาดและอาจมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการส่งมอบสินค้าและต้นทุนด้านการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ตารางต่อไปนี้แสดงผลกระทบของอัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลังเมื่อมีข้อมูลการวางแผนที่ไม่ถูกต้อง เมื่อขาดข้อมูลพื้นฐานได้แก่ : ผลกระทบต่ออัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง 1 ข้อมูลสถานะระดับสินค้าในปัจจุบัน (Current Stock) การคำนวณแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบ แผนการผลิต แผนการเติมสินค้าคงคลัง มีโอกาสผิดพลาดทั้งหมด ทำให้ปริมาณคงคลังบางชนิดมากเกินไป และบางชนิดน้อยเกินไปไม่เพียงพอสำหรับการผลิตหรือการขาย 2 ข้อมูลระดับคงคลังสำรอง (Safety Stock) มีแนวโน้มทั้งด้านการเตรียมคงคลังสำรองมากเกินไป หรืออาจเตรียมคงคลังสำรองน้อยเกินไป เนื่องจากไม่ทราบปริมาณสำรองที่เหมาะสม 3 ข้อมูลระยะเวลาส่งมอบ (Lead Time) มีแนวโน้มทั้งด้านการเติมสินค้าเร็วเกินไป หรืออาจเติมสินค้าช้าเกินไป เนื่องจากไม่ทราบระยะเวลาส่งมอบ (Lead Time) ที่ถูกต้อง 4 ข้อมูลพยากรณ์ยอดขาย (Sales Forecast) มีแนวโน้มทั้งด้านการเตรียมสินค้ามากเกินไป หรืออาจเตรียมสินค้าน้อยเกินไป เนื่องจากไม่มีข้อมูลพยากรณ์การใช้หรือการขายที่แม่นยำ 5 ข้อมูลปริมาณเติมสินค้า (Order Quantity) มีแนวโน้มทั้งด้านการเติมสินค้ามากเกินไป หรืออาจเติมสินค้าน้อยเกินไป เนื่องจากไม่ทราบข้อมูลปริมาณการเติมสินค้าที่เหมาะสม นอกจากนี้การวัดประสิทธิภาพการถือครองวัตถุดิบหรือสินค้าคงคลังด้วยมิติของระยะเวลาเป็นการเปรียบเทียบปริมาณการถือครองกับปริมาณการใช้หรือการขาย เรียกว่า Inventory Day of Supply หรือ DOS สามารถคำนวณได้โดยการนำข้อมูลปริมาณการจัดเก็บมาหารด้วยปริมาณการใช้ (ในกรณีวัตถุดิบ) หรือหารด้วยปริมาณการขาย (ในกรณีของสินค้าสำเร็จรูป) ผลลัพธ์ที่ได้จะให้คำตอบว่าปริมาณวัตถุดิบที่มีอยู่พอใช้ได้อีกกี่วัน หรือสินค้าสำเร็จรูปที่มีอยู่พอขายได้อีกกี่วัน สินค้าสำเร็จรูปหรือวัตถุดิบที่จัดเก็บเป็นเวลานานซึ่งสถานประกอบการมักเรียกตามสถานะที่จัดเก็บ เช่น Slow Moving Stock หรือ Dead Stock ขึ้นกับคำจำกัดความของแต่ละแห่ง เช่น บางแห่งกำหนดระยะเวลาเกิน 1 ปี และไม่มีแนวโน้มการขายหรือการใช้อีกจะเรียกว่า Dead Stock หากจัดเก็บมานานเกิน 6 เดือนแต่ไม่เกิน 1 ปี เรียก Slow Moving Stock เป็นต้น คำจำกัดความที่เหมาะสมสำหรับ Slow Moving Stock ควรจะเป็นระยะเวลาที่เกินจากความคาดหวังของการเติมสต็อกเข้ามาในระบบตั้งแต่แรก เช่น การจัดซื้อวัตถุดิบเข้ามามีความคาดหวังว่าวัตถุดิบชุดนั้นควรจะถูกใช้ไปหมดภายในเวลา 3 เดือน ดังนั้นหากเกิน 3 เดือนน่าจะถือได้ว่าเป็น Slow Moving Stock ส่วน Dead Stock ก็คือสต็อกที่มีแนวโน้มว่าจะไม่ได้ขายหรือไม่ได้ใช้อีกต่อไป Slow Moving Stock ที่ไม่ได้รับการแก้ไขหรือจัดการนำไปใช้หรือขายด้วยวิธีพิเศษ จะกลายเป็น Dead Stock ในที่สุด สาเหตุของการเกิดสินค้าคงคลังซึ่งมีระยะเวลาการจัดเก็บนานเกินกว่าที่คาดไว้จนเป็น Slow Moving Stock หรือ Dead Stock อาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น - ลูกค้ายกเลิกคำสั่งซื้อ - จัดเตรียมสินค้าซึ่งไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้าเนื่องจากการพยากรณ์ผิดพลาด - สินค้าที่ผลิตไม่มีคุณภาพตามมาตรฐาน - การวางแผนโซ่อุปทานไม่มีประสิทธิภาพ การควบคุมระดับคงคลังสำรองและคงคลังรวมไม่เหมาะสม เตรียมไว้มากเกินไป ไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่ดี -สินค้าเสียหายหรือมีตำหนิอันเกิดจากปฏิบัติการโลจิสติกส์ ฯลฯ การจัดการปัญหาเกี่ยวกับ Slow Moving Stock หรือ Dead Stock ต้องใช้กระบวนการพิเศษที่เป็นความร่วมมือระหว่างฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต ฝ่ายคลัง ฝ่ายบัญชี และฝ่ายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อขาย หรือนำกลับมาใช้ใหม่ หรือบริจาค หรือทำลายทิ้ง เพื่อจัดการสต็อกดังกล่าวออกจากการถือครอง ในระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพจะต้องประกอบด้วยการวางแผนที่ดีและการควบคุมที่ดีคู่กันไปเสมอ ในกระบวนการวางแผน ได้แก่ การจัดเตรียมสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตร่วมกัน ส่วนการควบคุม ได้แก่ การติดตามดูผลการดำเนินงานว่ายังอยู่ในวิสัยของแผนหรือไม่ มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแผนหรือไม่ การวางแผนวัตถุดิบ การวางแผนการผลิต การวางแผนสินค้าคงคลัง การวางแผนการจัดส่ง ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ แผนที่ดีย่อมทำให้มีการเริ่มต้นปฏิบัติงานที่ดี จากนั้นอยู่ที่ประสิทธิภาพการดำเนินงานตลอดทั้งกระบวนการ ได้แก่ การจัดซื้อ การผลิต การเตรียมสินค้าคงคลัง และการจัดส่งสินค้าไปให้ลูกค้า ในระหว่างนี้จะต้องมีการตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน ตรวจสอบทุกขั้นตอนว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่ เช่น จัดซื้อวัตถุดิบเข้าตามที่กำหนดหรือไม่ ผลการผลิตได้ตามปริมาณและตามเวลาที่กำหนดในแผนหรือไม่ ระดับสินค้าคงคลังที่เตรียมไว้ขายลูกค้าอยู่ในระดับที่กำหนดในแผนหรือไม่ และการจัดส่งสินค้าในขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการโลจิสติกส์ ได้ส่งมอบให้กับลูกค้าตรงเวลาและเต็มจำนวนหรือไม่ กระบวนการตรวจสอบนี้เป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ในการติดตามผลการดำเนินงานด้านโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ข้อมูลสำคัญที่สะท้อนให้เห็นสถานะการดำเนินงานตามความเป็นจริงได้ดีที่สุด คือ สถานะของระดับสินค้าคงคลังในปัจจุบันมีความจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องจะต้องติดตามข้อมูลสถานะของระดับคงคลังในปัจจุบันเพื่อประเมินและปรับเปลี่ยนแผนโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดดังนั้นสถานประกอบการต้องให้ความสำคัญกับระบบการติดตามข้อมูลสินค้าคงคลังปัจจุบัน โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเสริมการจัดการข้อมูลสินค้าคงคลังและพัฒนาระบบจัดการให้ข้อมูลสินค้าคงคลังมีความถูกต้องอยู่เสมอ
06 ส.ค 2021
วีดีโอ การกำหนดกลยุทธ์ และ การประเมินองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ในยุค New Normal ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564
บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การกำหนดกลยุทธ์ และ การประเมินองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ในยุค New Normal ภายใต้โครงการ เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 หัวข้อ : “การพัฒนากลยุทธ์ การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน” วิทยากร : นายมงคล พัชรดำรงกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (ดูผ่าน YOUTUBE คลิก) -------------------------------------------------------------------------------------- คลิปที่ 1: ปรับแนวคิด เปลี่ยนมุมมอง สู่การจัดโลจิสติกส์และโซ่อุปทานทุกองค์ประกอบ คลิปที่ 2: ออกแบบกลไกและกรอบแนวคิดเพื่อใช้พัฒนากลยุทธ์ของกิจการ การบูรณาการกลยุทธ์ธุรกิจและกลยุทธ์โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คลิปที่ 3: การใช้ปัจจัยทำงานยุคใหม่สร้างความได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจ คลิปที่ 4: การวิเคราะห์และการประเมินสถานการณ์เพื่อการจัดทำกลยุทธ์ที่ดี การเปลี่ยนสถานการณ์เพื่อสร้างคุณค่าและกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงาน คลิปที่ 5: การกระจายกลยุทธ์ธุรกิจสู่กลยุทธ์ Supply Chain/Logistics ด้วย X-Matrix การจัดทำแผนปฏิบัติการและขับเคลื่อนกลยุทธ์สู่ความสำเร็จ -------------------------- รับชมฉบับเต็มได้ที่ https://fb.watch/61oK3iFwyL/ เอกสารประกอบการบรรยาย : คลิก ไฟล์ workshop : คลิก -------------------------- หัวข้อ : “ลดต้นทุน เพิ่มรายได้จากการประเมินตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม” วิทยากร : ดร.คำนาย อภิปรัชญาสกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (ดูผ่าน YOUTUBE คลิก) คลิปที่ 1: ความเป็นมาของตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ คลิปที่ 2: ความสําคัญตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ คลิปที่ 3: ตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม คลิปที่ 4: ตัวชี้วัดและวิธีการประเมินประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม (ILPI) คลิปที่ 5: ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์รายตัวชี้วัด -------------------------- รับชมฉบับเต็มได้ที่ : https://fb.watch/61pQO81yu3/ เอกสารประกอบการบรรยาย : คลิก ไฟล์ workshop : คลิก คู่มือ LIPI : คลิก --------------------------
10 มิ.ย. 2021
ขอเชิญ สถานประกอบการ แจ้งความประสงค์ เข้าร่วมโครงการ Smart Corporate Logistics Strategy Management
เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Smart Corporate Logistics Strategy Management) ประจำปีงบประมาณ 2564 กลุ่ม เป้าหมาย 1. อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม2. อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน3. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี4. อุตสาหกรรมยางและพลาสติก5. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 6. อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์และเครื่องสำอาง ประโยชน์ที่จะได้รับ- มีแผนกลยุทธ์สำหรับการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่สอดคล้องกับธุรกิจ- ได้รับการปรับปรุงด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน- ช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์- ได้รับองค์ความรู้ด้านการจัดการและพัฒนาปรับปรุงด้านโลจิสติกส์แบบยั่งยืน - มีเครื่อข่ายผู้บริหารในภาคอุตสาหรรมต่าง ๆ แจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป แจ้งความประสงค์คลิก https://forms.gle/zqmrzCHqSh5raeba6 ปฏิทินกิจกรรม ดำเนินการโดย กองโลจิสติกส์ กลุ่มส่งเสริมโลจิสติกส์องค์กร โทรศัพท์ 02 354 3172
16 ธ.ค. 2020
ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนาชี้แจงกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ปีงบประมาณ 2564
สัมมนาชี้แจงกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ปีงบประมาณ 2564 ลงทะเบียนเข้าสัมนาฟรี คลิก ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าโครงการ ดูรายละเอียดและสมัครเข้าโครงการ ได้ที่ คลิก
10 พ.ย. 2020
ขอเชิญ สถานประกอบการเข้าร่วมโครงการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันภาคอุตสาหกรรม ด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์เชิงกลยุทธ์
ขอเชิญ สถานประกอบการเข้าร่วมโครงการ.. เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันภาคอุตสาหกรรม ด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์เชิงกลยุทธ์ ประจำปีงบประมาณ 2563 การดำเนินงาน : 1. วินิจฉัยศักยภาพ ณ สถานประกอบการ 1 ครั้ง 2. ฝึกอบรมการจัดทำแผนเชิงกลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์และฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือ Logistics Scorecard และ Industrial Logistics Performance Index (ILPI) 2 วัน 3. ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกในสถานประกอบการ 6 ครั้ง 4. สัมมนากิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Winner-Sharing) 1 วัน 5. สัมมนาเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน 1 วัน ประโยชน์ที่ได้รับ : - มีแผนกลยุทธ์สำหรับการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่สอดคล้องกับธุรกิจ - ได้รับการปรับปรุงด้านโลจิสติกส์อย่างน้อย 2 เรื่อง (โครงการ) - ช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ได้ไม่น้อยกว่า 15% - ได้รับองคความรู้ด้านการจัดการและพัฒนาปรับปรุงด้านโลจิสติกส์แบบยั่งยืน คุณสมบัติสถานประกอบการ : 1. มีพื้นที่โรงงานอยู่ในพื้นที่ดังนี้ กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง อยุธยา ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร 2. เป็นผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมดังนี้ อาหารแปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ปิโตรเคมีและพลาสติก สมัครเข้าร่วมโครงการ คลิ๊กที่นี่
26 ธ.ค. 2019
ขอเชิญท่านผู้ประกอบการและผู้สนใจ เข้าร่วมอบรม การประยุกต์ใช้ Excel ในการเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์ "ใช้ Excel อย่งเซียน เปลี่ยนธุรกิจให้ปัง" จังหวัดนครราชสีมา Logistic Showcase'63
หัวข้ออบรม : การประยุกต์ใช้ Excel ในการเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์ "ใช้ Excel อย่งเซียน เปลี่ยนธุรกิจให้ปัง" อบรมฟรี ลงทะเบียนออนไลน์ คลิก วันที่ 29 มกราคม 2563 เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ โรงแรม ฟอร์จูน ราชพฤกษ์ จ.นครราชสีมา ประโยชน์ที่ผู้อบรมจะได้รับ >> เทคนิคการพยากรและการจัดการสินค้าคงคลัง >> โปรแกรมพยากรความต้องการ โดย Microsoft Excel >> โปรแกรมจัดการสินค้าคงคลัง โดย Microsoft Excel >>>โปรดนำคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (notebook) มีโปรแกรม MS.Excel (เวอร์ชั่นใดก็ได้) และ ปลั๊กพ่วงไฟ (power bar) มาในวันอบรม
19 พ.ย. 2019
ขอเชิญเข้าร่วมโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ปี 2563
ขอเชิญเข้าร่วมโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ปี 2563 หัวข้ออบรม Step by Step ครบเครื่องควรรู้ นำเข้า+ส่งออก สำหรับ SMEs (รุ่นที่2) (เปิดรับสมัคร) การลดต้นทุนด้วยการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสมัยใหม่และการประยกต์ใช้มาตรฐานสากลด้วย Barcode/RFID ตลอดโซ่อุปทานสำหรับ SMEs (เปิดรับสมัคร) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานด้านโลจิสติกส์ (ปิดรับสมัคร) Logistics Digital Transformation by Excel Model การปรับเปลี่ยนสู่ยุคโลจิสติกส์ดิจิทัลด้วย Excel (ปิดรับสมัคร) Smart Transportation for SMEs (เปิดรับสมัคร) การออกแบบและพัฒนาโซ่อุปทานเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันยุค Digital Transformation (เปิดรับสมัคร) การวิเคราะห์ธุรกิจด้วย Power Business Intelligence (Power BI) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ แจ้งความประสงค์เข้าอบรมได้ที่นี่ คลิก ติดตามข้อมูลข่าวสารการอบรมและการรับสมัครได้ที่นี่ คลิก Line Official Account
15 ต.ค. 2019